Live Breaking News & Updates on Bill blackburn molina orly mugabe

Stay informed with the latest breaking news from Bill blackburn molina orly mugabe on our comprehensive webpage. Get up-to-the-minute updates on local events, politics, business, entertainment, and more. Our dedicated team of journalists delivers timely and reliable news, ensuring you're always in the know. Discover firsthand accounts, expert analysis, and exclusive interviews, all in one convenient destination. Don't miss a beat — visit our webpage for real-time breaking news in Bill blackburn molina orly mugabe and stay connected to the pulse of your community

สังคมโลก : โยโยงิ


เดลินิวส์
วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม 2021
สังคมโลก : โยโยงิ
สนามกีฬาแห่งชาติโยโยงิ ออกแบบโดย เค็งโซ ทังเงะ ถือเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของโตเกียว โอลิมปิก ปีค.ศ.1964 ( พ.ศ.2507 ) กีฬาโอลิมปิกครั้งแรกที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ และยังเป็นสัญลักษณ์ที่มีส่วนผสมระหว่างความเรียบง่าย ทักษะ และความสวยงาม นำเทคนิคสมัยใหม่กับประเพณีของญี่ปุ่น มาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว
ทังเงะ สถาปนิกผู้ออกแบบ ยังได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ในปี 1987 รางวัลสูงสุดของสถาปนิกผู้ออกแบบ และคำสดุดีสำหรับโยโยงิ ว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่สวยที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 เพราะทั้งเรียบง่าย โดดเด่น และถาวร
สนามกีฬาแห่งนี้เกิดขึ้นแค่ 19 ปี หลังญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้นวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างทั้งหลายมีน้อย แต่ผลงานที่ออกมากลับโดดเด่น ในความนำสมัยของญี่ปุ่น ซึ่งตอนนั้นมีวิทยุทรานซิสเตอร์ รถไฟหัวกระสุน กับเครื่องหมายที่พบเห็นได้ทุกหนทุกแห่งเขียนว่า เมดอินแจแปน
ตัวหลังคากว้างของโยโยงิยึดติดอยู่กับพื้น และยังมีสายเคเบิลยึดตัวอาคารไว้ ดูคล้ายสะพานแขวน และเชื่อมโยงกันระหว่างความนำสมัย การออกแบบแบบตะวันตก ซึ่งมีรูปแบบที่พบเห็นได้ตามวัด และศาลเจ้าของชาวญี่ปุ่น
ศาสตราจารย์โซไฮ อิมามุระ อาจารย์สถาปัตยกรรม แห่งสถาบันเทคโนโลยีชิบะ บอกว่า นี่คือรูปแบบอันน่าอัศจรรย์ ประกอบด้วยโครงสร้าง รูปแบบและการใช้งานในแต่ละอย่าง ดูมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และผสมผสานเข้าด้วยกัน ตอนนั้นญี่ปุ่นต้องการพลัง และความคิดสร้างสรรค์ เพราะสังคมต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ พลังและความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นที่ต้องการสำหรับโอลิมปิกด้วย
โยโยงิจึงคงทน ราวกับมหาวิหารอายุ 500 ปี ในยุโรปและตั้งอยู่ติดกับสวนสาธารณะ และศาลเจ้าเมจิ ใจกลางกรุงโตเกียว แต่ทุกวันนี้อาจจะดูเล็กลงไปแล้ว เมื่อเทียบกับอาคารก่อสร้างอื่น ๆ โยโยงิเคยเป็นสนามกีฬาแข่งว่ายน้ำในโอลิมปิก 1964 ซึ่งตอนนั้นนักว่ายหนุ่มชาวอเมริกัน ดอน สโคลแลนเดอร์ คว้าไป 4 เหรียญทอง เทียบได้กับมาร์ค สปิตซ์ หรือไมเคิล เฟลป์ส แห่งโตเกียวเมื่อ 57 ปีก่อน
Harvard GSD
แต่สำหรับโอลิมปิก โตเกียว 2020 โยโยงิถูกจัดให้เป็นสนามแข่งกีฬาแฮนด์บอล แต่เมื่อปีที่แล้วเคยถูกใช้จัดแข่งยิมนาสติก เพราะผู้จัดต้องการทดสอบระบบ ตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ซึ่งอาจต้องนำมาใช้ในโอลิมปิกระหว่างการแพร่ระบาดใหญ่
ทังเงะยังได้ออกแบบกลุ่มอาคารใกล้เคียงเรียกกันว่า แอนเนกซ์ ซึ่งได้ใช้จัดแข่งกีฬาบาสเก็ตบอลตอนโอลิมปิก 1964 ตอนนั้นทีมอเมริกันคว้าเหรียญทองไป มีผู้เล่นเด่น ๆ เช่นบิล แบรดลีย์ เจฟฟ์ มุลลิน และเจอร์รี่ ชิพพ์
อาจารย์อิมามุระบอกอีกว่า เหมือนกับศาลเจ้าเมจิทำให้อาคารแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นจะต้องมีหลังคากว้าง สัญลักษณ์จึงอยู่ที่หลังคา เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งต่างไปจากอาคารแบบตะวันตก ที่ส่วนใหญ่จะเน้นไปยังด้านหน้าตัวอาคารเป็นสำคัญ
นอกจากโยโยงิแล้ว นิปปอน บูโดกัน อีกหนึ่งอาคารที่เป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ 1964 และครั้งนี้ก็ถูกนำมาใช้เป็นสถานที่แข่งกีฬายูโด บูโดกัน ถ้าแปลตามตัวในภาษาอังกฤษจะหมายความว่า หอแสดงศิลปะการต่อสู้ และยังเคยใช้เป็นสถานที่แสดงคอนเสิร์ตซีรีส์ของสี่เต่าทอง “เดอะ บีเทิลส์” ในปี 1966 สร้างชื่อเสียงมากกว่าใช้ในโอลิมปิก 1964 เสียอีก
สถาปนิกชาวอเมริกัน เจมส์ แลมเบียซี ซึ่งทำงานอยู่ในญี่ปุ่นนาน 26 ปี บอกว่า โยโยงิเป็นสุดยอดสถาปัตยกรรมนำสมัย เพราะตอนนั้นโตเกียวเพิ่งจะเป็นเมืองสร้างจากไม้ที่เพิ่งจะฟื้นจากสงคราม การนำคอนกรีตและโลหะเข้ามาก่อสร้าง ทำให้โตเกียวได้เกิดใหม่ นอกจากนั้น เขายังชี้ให้เห็นว่าในยุคที่สถาปนิกทังเงะทำงานนั้น คอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับการออกแบบยังไม่มีเลย สถาปนิกและวิศวกรต้องทำงานร่วมกันบนโต๊ะเขียนแบบ มีแต่ไม้ทีและสไลด์รูล์ เขาใส่จินตนาการเข้าไปบนเครื่องมือพื้นฐาน และต้องคำนวณตัวเลขออกมาในทุกการเคลื่อนไหว.
เลนซ์ซูม

Japan , Tokyo , United-kingdom , Kashmir , Limpopo , South-africa , Durban , Kwazulu-natal , Phrae , Thailand , Japanese , British