vimarsana.com


ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดรับ ป.ตรีทุกสาขาเรียนพยาบาล
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดรับ ป.ตรีทุกสาขาเรียนพยาบาล
วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 - 07:14 น.
“วิชาชีพพยาบาล” ถือเป็นกำลังคนในระบบสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญต่อการให้บริการประชาชน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาวะขาดแคลน โดยข้อมูลจากสภาการพยาบาล ระบุว่า มีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพียง 180,000 คน แต่ทำงานในระบบจริง ๆ อาจไม่ถึงจำนวนนี้
ยิ่งไปกว่านั้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อหลายพันคนต่อวัน พยาบาลต้องทำหน้าที่เป็นด่านหน้าดูแลผู้ป่วยทำให้ไม่เพียงพอต่อการรับมือ ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นไปอีก
“รศ.ดร.อรพรรณ โตสิงห์” รองคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า พยาบาลเป็นอาชีพที่ขาดแคลนบุคลากรมานานแล้ว ยิ่งวิกฤตปีนี้เห็นชัดว่าแพทย์ พยาบาลทำงานหนักจนแทบรับมือไม่ไหว จึงทำให้เราต้องการบุคลากรเพิ่มจำนวนมาก
“ย้อนกลับไปปี 2535 คณะรัฐมนตรีมีมติให้อาชีพพยาบาลเป็นสาขาที่ขาดแคลน โดยให้เร่งรัดผลิตให้ทันความต้องการของประเทศ ทำให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งพยายามดำเนินการผลิตคนให้เป็นไปตามมาตรฐาน และทางสภาการพยาบาลได้มีการคิดหาวิธีเพิ่มบุคลากรมาตลอด ทุกปีจะมีการคำนวณกำลังคนในสาขา โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเกณฑ์ขั้นต่ำของ WHO คือ พยาบาล 1 คนต่อจำนวนประชากร 500 คน สำหรับประเทศกำลังพัฒนา”
“ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาจะมีจำนวนพยาบาลที่ดูแลต่อประชากรจำนวนน้อยเพื่อที่จะได้ดูแลอย่างทั่วถึง รวมทั้งดูเกณฑ์มาตรฐานของประเทศอื่น ๆ ร่วมด้วย ส่วนที่เราใช้จะเป็นเกณฑ์กลาง ๆ คือ ตั้งเอาไว้ว่าพยาบาล 1 คนต่อจำนวนประชากร 250 คน ถ้าคำนวณดูจากตัวเลขนี้แล้วกับจำนวนประชากรคร่าว ๆ เราต้องการพยาบาลในระบบสุขภาพจริง ๆ ถึง 230,000 คน แต่ปัจจุบันเรามีพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในระบบแค่ 180,000 คน”
“ในภาพรวมเราต้องการพยาบาลเพิ่มอีกมากกว่า 50,000 คน และปีต่อไปตัวเลขจะไม่ได้หยุดแค่นี้ จะเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์ เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเพราะคนอายุยืนขึ้น ที่สำคัญ อาจมีคนป่วยเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายมากขึ้น ซึ่งคนเหล่านี้ก็ต้องการคนดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกัน จะมีพยาบาลเกษียณอายุทุกปี ประกอบกับรัฐบาลมียุทธศาสตร์ที่จะทำศูนย์การดูแลสุขภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศด้วย คาดการณ์ว่าในอีก 5-10 ปี ตัวเลขความต้องการจะพุ่งสูงขึ้นไปอีก”
“รศ.ดร.อรพรรณ” กล่าวต่อว่า ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นที่มาที่สภาการพยาบาล มีนโยบายให้มหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ รับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทุกสาขาเข้ามาเรียนได้ในระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน ซึ่งเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นก่อนจะมีสถานการณ์โควิด-19 ดังนั้น หากมหาวิทยาลัยใดพร้อม ทั้งอาจารย์ผู้สอน ห้องปฏิบัติการ หลักสูตรที่เป็นมาตรฐาน ก็สามารถเปิดได้เลย
“เท่าที่ทราบตอนนี้มหาวิทยาลัยเอกชนที่นำร่องไปก่อนแล้ว คือ ม.รัตนบัณฑิตเปิดเมื่อปี 2563 และปีนี้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ก็เพิ่งเปิดเป็นปีแรก ชื่อหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาจำนวน 100 คน ตอนนี้มีผู้สมัครเข้ามามากกว่า 322 คนแล้ว ถือว่ามีคนให้ความสนใจอยากเป็นพยาบาลจำนวนมาก โดยขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาในเดือนสิงหาคมนี้ตามเป้าหมายที่เราตั้งใจไว้”
“เหตุผลที่เปิดแน่นอนว่าต้องการผลิตคน อีกทั้งตอนนี้นักศึกษาหรือบัณฑิตที่จบสาขาปริญญาตรีมีอยู่จำนวนมาก ที่เรียนจบแล้วยังไม่มีงานทำ”
จากข้อมูลการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า บัณฑิตจบใหม่ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานถึง 5.2 แสนคน เป็นจำนวนที่น่าตกใจยังไม่รวมกับคนวัยทำงานที่อยู่ในสถานการณ์อาชีพไม่มั่นคงจากผลกระทบโควิด ดังนั้น วิชาชีพที่ไม่ตกงานแน่นอน คือ พยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องการของสังคมด้วย ช่วยชาติด้วย ช่วยตัวเองด้วย”
สำหรับรูปแบบการเรียน “รศ.ดร.อรพรรณ” บอกว่า
โดยทั่วไปการเรียนในระดับปริญญาตรีทุกแห่งจะเรียนทั้งหมด 122 หน่วยกิตเป็นอย่างน้อย ในจำนวนนี้มีหมวดวิชาศึกษาทั่วไปแล้ว 30 หน่วยกิต แบ่งเป็นกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ที่ทำให้เราเป็นคนมีเหตุมีผล แล้วก็กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ที่ทำให้เรามีความเป็นมนุษย์ และกลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร ซึ่งเทียบโอนได้ ฉะนั้น ก็จะเหลืออีก 80 หน่วยกิต โดยใช้เวลา 2 ปีครึ่งในการเรียนหลักสูตรพยาบาล
สำหรับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะแบ่งออกเป็น 2 หมวดใหญ่ ๆ คือ
หนึ่ง หมวดวิชาเฉพาะสำหรับพยาบาลศาสตรบัณฑิต เพื่อปูพื้นฐานวิชาชีพเกี่ยวกับศาสตร์ทางสุขภาพ เช่น กายวิภาคศาสตร์ พยาธิวิทยา คือ เรียนเรื่องโรค และความเจ็บป่วย รวมถึงเรียนเภสัชกรรม ด้านการให้ยา
สอง กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ เจาะลึกลงในวิชาชีพของการพยาบาลทุก ๆ วัย คือ ตั้งแต่เรื่องของการพยาบาลเด็ก การพยาบาลผู้ใหญ่ การพยาบาลผู้สูงอายุ การพยาบาลจิตเวช การพยาบาลชุมชน การรักษาโรคเบื้องต้น จริยธรรมพยาบาล รวมถึงกฎหมายเรื่องพยาบาลต่าง ๆ
นอกจากนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเน้นสร้างบัณฑิต 3 ทางเลือกในปีสุดท้าย โดยจะให้นิสิตเลือกว่าเรียนจบไปอยากเป็นผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจด้านการพยาบาลหรือสุขภาพหรือไม่ เช่น เปิดสถานพยาบาล สถานดูแลผู้สูงอายุ ก็จะมีอาจารย์สอนเรื่องการคำนวณต้นทุน ดูว่าการทำธุรกิจ การจดทะเบียนทำอย่างไรให้ถูกต้อง หรือทางเลือกที่สอง
ถ้าหากต้องการเป็นนักเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล ก็จะเป็นผู้ออกแบบแพลตฟอร์มเกี่ยวกับสุขภาพหรือจัดทำคลังข้อมูลขนาดใหญ่ บริหารจัดการบิ๊กดาต้าทั้งหลาย และทางเลือกสุดท้าย หากต้องการทำงานในโรงพยาบาลจะทำการสอนเพื่อให้เป็นคนบริหารจัดการในโรงพยาบาลตามกลุ่มงาน เช่น กลุ่มงานดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง ฯลฯ
ที่สำคัญ การเรียนการสอนใช้กระบวนการวิจัยในทุกรายวิชา มีอาจารย์ประจำหลักสูตรประมาณ 20 ท่าน ทุกท่านล้วนเป็นอาจารย์ที่มีโครงการวิจัยของตนเอง และมีทุนภายนอกสนับสนุน ฉะนั้นผู้เรียนทุกคนจะมีอาจารย์ที่ปรึกษา และได้เป็นผู้ช่วยวิจัยร่วมกับอาจารย์ด้วย ส่วนการฝึกปฏิบัติจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสมือนจริง โดยจะมีหุ่นให้ปฏิบัติการเหมือนคนจริง และต้องฝึกไปจนกว่าจะคล่องมือในทุกเรื่อง
ขณะที่อีกอย่างหนึ่งคือการฝึกในสถานการณ์จริง คือ โรงพยาบาลหลัก ๆ ของกรุงเทพฯและในชุมชน รวมถึงที่บ้านคนไข้ด้วย ซึ่งในชุมชนแออัดเราใช้ในเขตหลักสี่ ส่วนชุมชนชนบทจะปฏิบัติที่พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี และสุพรรณบุรี เป็นต้น
“รศ.ดร.อรพรรณ” กล่าวย้ำว่า วิชาเหล่านี้สำคัญมาก จะเป็นการเตรียมพร้อมทุกทักษะ เพื่อให้บัณฑิตจบไปทำงานได้ทุกแผนก และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องสอบรับใบประกอบวิชาชีพเสียก่อนจึงจะปฏิบัติงานเป็นพยาบาลวิชาชีพได้ถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่สอบใบประกอบวิชาชีพ จะเป็นเพียงพยาบาลจบการศึกษาเท่านั้น ยังไม่สามารถประกอบวิชาชีพได้อย่างอิสระ
“ดิฉันการันตีว่าเรียนพยาบาลจบแล้วมีงานทำแน่นอน เพราะเป็นที่ต้องการมากในขณะนี้”
ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น
เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat

Related Keywords

Ireland ,Suphan Buri ,Thailand ,Phrae , ,Ireland College ,Source The Council ,Institution Education ,Health College Science Medical Prince ,A Society ,Committee Interview ,Banka Thailand ,Alcoa If University ,Information Technology ,Phrae Province ,Institution Education All ,August This ,New Can ,Alcoa David ,July Education ,Social Sciences ,Pharmacy Top ,Suphan Buri Province ,All Department ,ஐயர்ல்யாஂட் ,தாய்லாந்து ,ஐயர்ல்யாஂட் கல்லூரி ,தகவல் தொழில்நுட்பம் ,ஆகஸ்ட் இது ,புதியது முடியும் ,சமூக அறிவியல் ,மருந்தகம் மேல் ,அனைத்தும் துறை ,

© 2025 Vimarsana

vimarsana.com © 2020. All Rights Reserved.