vimarsana.com


อัจฉริยา คุณพันธ์ Head of People Experience บริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ คริส เวลส์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
การมีพนักงานที่มีความหลากหลายคือหัวใจในการสร้างความสำเร็จของวอลโว่ คาร์ กรุ๊ป จึงทำให้บริษัทพยายามดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถจากทั่วทุกมุมโลก ทุกเพศ ทุกวัย และทุกแบ็กกราวนด์ เพื่อนำสิ่งดีที่สุดของบุคลากรมาร่วมสร้างการเติบโต เพื่อเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมรถยนต์ระดับพรีเมี่ยม
โดยล่าสุด วอลโว่ คาร์ ประกาศนโยบาย Family Bond by Volvo Cars ทั่วโลก ด้วยการมุ่งเน้นเรื่องสิทธิวันลาเลี้ยงดูบุตร 24 สัปดาห์ ทั้งยังให้ค่าจ้างแก่พนักงานในการครอบคลุมผู้ปกครองทุกเพศ รวมถึงกลุ่ม LGBTQ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรแห่งความเสมอภาค เป็นหนึ่งเดียวกัน และเอื้อต่อความหลากหลายทางเพศ
“คริส เวลส์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์กร เกิดจากการให้ความสำคัญกับความหลากหลายของพนักงาน ตลอดจนการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศ เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสจากองค์กรได้อย่างเท่าเทียม
“วอลโว่มีความต้องการยกระดับการดำเนินงานในทุกมิติ เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญา People are the Core of Everything We Do จึงประกาศนโยบาย Family Bond by Volvo Cars พร้อมกันทั่วโลกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา โดยนโยบายนี้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนแผนงาน 50/50 ของวอลโว่สากลที่เอื้อให้บุคลากรหญิงและเพศทางเลือกที่มีความรู้ความสามารถ มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งขึ้นสู่ระดับบริหารได้โดยไม่ถูกตัดโอกาส เนื่องจากภาระการเลี้ยงดูบุตรหรือข้อจำกัดส่วนบุคคลอื่น ๆ”
“นอกจากนั้น ยังมอบสิทธิวันลาเลี้ยงดูบุตร 24 สัปดาห์ต่อเนื่อง (หรือ 120 วันทำงาน) ให้แก่พนักงานวอลโว่ ครอบคลุมคนทุกเพศทั้งชาย-หญิง และเพศทางเลือก (LGBTQ) ที่ไม่เพียงแต่ผู้ให้กำเนิด แต่รวมถึงผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้อุปถัมภ์บุตร และผู้รับอุ้มบุญด้วย เพื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรม และค่านิยมองค์กรที่ทุกคนมีความเสมอภาค”
“คริส เวลส์” กล่าวด้วยว่า
การให้สิทธิวันลาเลี้ยงดูบุตร 24 สัปดาห์ เป็นประโยชน์มากสำหรับบุคลากรในไทย เพราะสิทธิการลาหยุดงานเพื่อเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายแรงงานของประเทศไทยในปัจจุบัน ยังคงเป็นการลาหยุดสำหรับพนักงานหญิงเท่านั้น โดยใช้สิทธิลาคลอดตามข้อกำหนดของประกันสังคม แต่นโยบาย Family Bond by Volvo Cars ของวอลโว่จะให้สิทธิกับพนักงานทุกคนเท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งเพศ เพื่อมีเวลาในการเลี้ยงดูบุตร
“วอลโว่ต้องการสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่สนับสนุนบทบาทพ่อแม่ผู้ปกครองของพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม เพื่อให้พวกเขาสามารถสร้างสมดุลระหว่างชีวิตครอบครัว และการทำงาน ตลอดจนลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำด้านการทำงานระหว่างชาย-หญิง และคนทุกเพศ”
“นอกจากนั้น วอลโว่ยังรับฟังเสียงของทุกคนและให้ความสำคัญ ตรงนี้จึงเป็นเหตุผลที่พนักงานของเราอยากมีส่วนร่วมกับภารกิจต่าง ๆ ขององค์กร จนทำให้แบรนด์ของเรามีความแข็งแกร่ง โดดเด่น ทั้งยังส่งผลให้คนต้องการทำธุรกิจกับเราด้วย”
“อัจฉริยา คุณพันธ์” Head of People Experience บริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า การให้สิทธิวันลาเลี้ยงดูบุตร 24 สัปดาห์ต่อเนื่อง ครอบคลุมคนทุกเพศทั้งชาย-หญิง และเพศทางเลือก (LGBTQ) เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 2562
โดยนำร่องเฉพาะในภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง มีผู้ปกครองทุกประเภทขอใช้สิทธินี้ โดยแบ่งออกเป็นผู้หญิง 54% และผู้ชาย 46% ผลลัพธ์ที่ได้คือพนักงานมีความสุขกับการทำงาน และมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อองค์กรมากยิ่งขึ้นจนเห็นได้ชัด จากนั้นจึงขยายให้เป็นนโยบายที่ใช้พร้อมกันทั่วโลกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
“พนักงานหญิงสามารถลาคลอดโดยใช้สิทธิลาคลอด 45 วัน พร้อมรับค่าจ้าง 100% ทั้งยังสามารถลาต่อให้ครบ 24 สัปดาห์ และรับเงิน 80% ของฐานเงินเดือนตลอดระยะการลา ขณะเดียวกันพนักงานที่เป็นคุณพ่อสามารถลางานเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูบุตรของภรรยาได้มากขึ้น”
“ทั้งนี้ สังคมในปัจจุบันที่มีคู่รักเพศเดียวกันต้องการรับเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมเพิ่มมากขึ้น เราจึงเอื้อประโยชน์แก่ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือบุตรอุปถัมภ์ ซึ่งครอบคลุมผู้ปกครองทุกเพศรวมถึงกลุ่ม LGBTQ ให้มีเวลาจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้โดยไม่แตกต่างจากผู้ปกครองประเภทอื่น ๆ เพราะสามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรอายุแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ขวบได้ ทั้งยังใช้สิทธิต่อบุตร 1 คน ภายในเวลา 3 ปีด้วย”
อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้ยังให้เฉพาะพนักงานประจำที่ทำงานในบริษัทไม่ต่ำกว่า 1 ปี ครอบคลุมทั้งพนักงานส่วนสำนักงาน และโรงงานการผลิตของวอลโว่ทุกแห่ง ซึ่งทางพนักงานต้องแจ้งล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 3 เดือน และใช้สิทธิภายใน 3 ปีนับตั้งแต่วันที่บุตรเกิด
ที่สำคัญสิทธินี้ยังสามารถขอใช้ได้อีกเมื่อมีบุตรคนใหม่ และพนักงานที่ใช้สิทธิวันลาเลี้ยงดูบุตรจะได้ทำงานในตำแหน่งเดิม และรับเงินเดือนเท่าเดิมเมื่อกลับมาทำงาน หรือสามารถขอโยกย้ายไปทำงานในตำแหน่งอื่นในอัตราเงินเดือนเท่าเดิมได้ เพื่อให้เหมาะสมกับชีวิตครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไป
“เราตระหนักดีว่าการมีสมาชิกใหม่ในครอบครัวของพนักงานจะนำมาซึ่งความสุข แต่ก็มาพร้อมกับความกดดันอย่างมหาศาลเช่นกัน บริษัทจึงเห็นว่าสิทธิวันลาที่ยาวนานจะช่วยให้พวกเขาผ่านช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างผ่อนคลายมากขึ้น”
“อัจฉริยา” อธิบายต่อว่า เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ บนโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลจึงต้องทบทวนนโยบายเรื่องการดูแลคนอยู่เสมอ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของพนักงาน ทำให้พวกเขาทำงานอย่างมีความสุข มีความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน เพื่อพวกเขาจะได้อยู่กับองค์กรไปนาน ๆ
“ทั้งนี้ ความหลากหลายของพนักงานก็เป็นแรงผลักดันอยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรนั่นคือ เหตุผลที่วอลโว่ให้ความสำคัญกับคนทุกเพศ และส่งเสริมการสื่อสารที่เปิดกว้างรับฟังข้อเสนอแนะซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรของเรา อันสอดคล้องกับ Family Bond by Volvo Cars ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้คนในวงกว้างอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด”
นับว่าการริเริ่มนโยบายสิทธิวันลาเลี้ยงดูบุตร เป็นหนึ่งในข้อพิสูจน์ถึงความยึดมั่นในค่านิยมของวอลโว่ที่ให้ความสำคัญกับผู้คนในทุกมิติ
ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น
เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat
หัวข้อข่าว:

Related Keywords

Toronto ,Ontario ,Canada ,Thailand , ,Volvo Cars Carr ,D Office ,Volvo Cars ,Volvo Cars Carr Thailand ,Social Security ,Volvo Cars Optional ,Hearing Voice Everyone ,Europe East ,Volvo Cars All ,Members New ,டொராண்டோ ,ஆஂடேரியொ ,கனடா ,தாய்லாந்து ,ட அலுவலகம் ,வால்வோ கார்கள் ,சமூக பாதுகாப்பு ,யூரோப் கிழக்கு ,

© 2024 Vimarsana

vimarsana.com © 2020. All Rights Reserved.