vimarsana.com


อาเซียนอ่วมโควิด ‘เดลต้า’ ทุบฐานผลิต-พลาดโอกาสฟื้นเศรษฐกิจ
อาเซียนอ่วมโควิด ‘เดลต้า’ ทุบฐานผลิต-พลาดโอกาสฟื้นเศรษฐกิจ
วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 - 07:13 น.
การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ส่งผลให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างต้องเผชิญกับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถควบคุมได้อีกครั้ง ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัว แต่อาเซียนอาจพลาดโอกาสพลิกฟื้นเศรษฐกิจครั้งสำคัญไปอย่างน่าเสียดาย
เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์รายงานว่า
ปัจจุบันสถานการณ์ใน “อาเซียน” กำลังวิกฤต จากความรุนแรงของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อในภูมิภาคพุ่งขึ้นถึง 41% ในช่วงกลางเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อสะสมในภูมิภาครวมกว่า 37 ล้านคน และ “อินโดนีเซีย” ก้าวขึ้นมามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากบราซิล
เช่นเดียวกันกับอีกหลายประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น ทำให้ต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมโรคระบาดอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็น ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ส่งผลให้เศรษฐกิจต้องหยุดชะงักอีกครั้ง โดยเฉพาะภาคการผลิตและส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงาน เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนาม ที่ต้องประกาศใช้มาตรการคุมเข้ม และยังประกาศเคอร์ฟิวในศูนย์กลางเศรษฐกิจอย่าง “นครโฮจิมินห์” หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว คือ
“ซัมซุง” ที่ต้องปิดศูนย์การผลิต
“ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ซีอี คอมเพล็กซ์” ในเวียดนาม หลังพบผู้ติดเชื้อกว่า 750 คน เช่นเดียวกับผู้ผลิตจีนอีกจำนวนมากที่ย้ายฐานผลิตมายังเวียดนาม กำลังได้รับความเสียหายจากการหยุดชะงักของโรงงานในเวียดนาม
สถานการณ์ดังกล่าวคล้ายคลึงกับในไทย และฟิลิปปินส์ ส่วนโรงงานในมาเลเซียอย่าง
“เอปสัน” ผู้ผลิต พรินเตอร์ และ
“ไทโย” ผู้ผลิตคาพาซิเตอร์รายใหญ่ของญี่ปุ่น โรงงานยังสามารถเปิดดำเนินการต่อได้ ภายใต้การจำกัดจำนวนพนักงานไม่เกิน 60%
“ตูลี แมคคัลลี” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียแปซิฟิก ของสโกเทียแบงก์ระบุว่า “ขณะนี้ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่กำลังกลับมาฟื้นตัว ดังนั้นความสามารถในการส่งออกของอาเซียนจะสามารถนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ แต่สถานการณ์ไวรัสในขณะนี้ทำให้โอกาสลดน้อยลง”
นอกจากนี้ การบริโภคในประเทศและภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจสำคัญของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงไม่ฟื้นตัวส่งผลให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่น สกุลเงินของหลายประเทศเริ่มอ่อนค่าลง ขณะที่หลายประเทศยังได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ลงอีกรอบ ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซียที่ปรับลดมาอยู่ที่ 3.7-4.5% ไทย 0-1.5% และฟิลิปปินส์อยู่ที่ 6-7%
ทั้งนี้ หนทางที่จะผ่านพ้นวิกฤตไปได้คือการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรจำนวนมากโดยเร็วที่สุด แต่ปัจจุบันอัตราการฉีดวัคซีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงอยู่ที่ 9% ของประชากร
“เซียน เฟนเนอร์” นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียของบริษัทวิจัยด้านเศรษฐกิจ ออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ ระบุว่า
“การฉีดวัคซีนที่ล่าช้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น สิงคโปร์ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าการฟื้นตัวจะไม่สม่ำเสมอ และเสี่ยงที่จะใช้ระยะเวลามากขึ้นจากมาตรการควบคุมโรคต่าง ๆ ซึ่งความไม่แน่นอนเหล่านี้อาจสร้างความเสียหายเป็นเวลานานจนกลายเป็นแผลเป็นทางเศรษฐกิจของภูมิภาค”
ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น
เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat

Related Keywords

Malaysia ,Philippines ,Japan ,Thailand ,Brazil ,China ,Vietnam ,Republic Of ,Indonesia ,Phrae ,Chi Minh ,D Asia Pacific Ocean ,Samsung ,Association Of Southeast Asian Nations ,David Delta Smash ,Phrae Province ,Asia East ,South China Morse ,Indonesia Dempsey ,Thailand Downtown Core Indonesia ,Malaysia Vietnam ,City Ho Chi Minh ,Thailand Philippines ,May Prince ,Calgary Lee Senior ,Economicsd Asia Pacific Ocean ,Currency Silver ,South Haven ,மலேசியா ,பிலிப்பைன்ஸ் ,ஜப்பான் ,தாய்லாந்து ,பிரேசில் ,சீனா ,வியட்நாம் ,குடியரசு ஆஃப் ,இந்தோனேசியா ,சி மிந் ,சாம்சங் ,சங்கம் ஆஃப் தென்கிழக்கு ஆசிய நாடுகள் ,ஆசியா கிழக்கு ,மலேசியா வியட்நாம் ,தெற்கு புகலிடம் ,

© 2024 Vimarsana

vimarsana.com © 2020. All Rights Reserved.