อาเซียนอ

อาเซียนอ่วมโควิด 'เดลต้า' ทุบฐานผลิต-พลาดโอกาสฟื้นเศรษฐกิจ


อาเซียนอ่วมโควิด ‘เดลต้า’ ทุบฐานผลิต-พลาดโอกาสฟื้นเศรษฐกิจ
อาเซียนอ่วมโควิด ‘เดลต้า’ ทุบฐานผลิต-พลาดโอกาสฟื้นเศรษฐกิจ
วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 - 07:13 น.
การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ส่งผลให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างต้องเผชิญกับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถควบคุมได้อีกครั้ง ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัว แต่อาเซียนอาจพลาดโอกาสพลิกฟื้นเศรษฐกิจครั้งสำคัญไปอย่างน่าเสียดาย
เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์รายงานว่า
ปัจจุบันสถานการณ์ใน “อาเซียน” กำลังวิกฤต จากความรุนแรงของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อในภูมิภาคพุ่งขึ้นถึง 41% ในช่วงกลางเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อสะสมในภูมิภาครวมกว่า 37 ล้านคน และ “อินโดนีเซีย” ก้าวขึ้นมามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากบราซิล
เช่นเดียวกันกับอีกหลายประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น ทำให้ต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมโรคระบาดอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็น ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ส่งผลให้เศรษฐกิจต้องหยุดชะงักอีกครั้ง โดยเฉพาะภาคการผลิตและส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงาน เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนาม ที่ต้องประกาศใช้มาตรการคุมเข้ม และยังประกาศเคอร์ฟิวในศูนย์กลางเศรษฐกิจอย่าง “นครโฮจิมินห์” หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว คือ
“ซัมซุง” ที่ต้องปิดศูนย์การผลิต
“ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ซีอี คอมเพล็กซ์” ในเวียดนาม หลังพบผู้ติดเชื้อกว่า 750 คน เช่นเดียวกับผู้ผลิตจีนอีกจำนวนมากที่ย้ายฐานผลิตมายังเวียดนาม กำลังได้รับความเสียหายจากการหยุดชะงักของโรงงานในเวียดนาม
สถานการณ์ดังกล่าวคล้ายคลึงกับในไทย และฟิลิปปินส์ ส่วนโรงงานในมาเลเซียอย่าง
“เอปสัน” ผู้ผลิต พรินเตอร์ และ
“ไทโย” ผู้ผลิตคาพาซิเตอร์รายใหญ่ของญี่ปุ่น โรงงานยังสามารถเปิดดำเนินการต่อได้ ภายใต้การจำกัดจำนวนพนักงานไม่เกิน 60%
“ตูลี แมคคัลลี” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียแปซิฟิก ของสโกเทียแบงก์ระบุว่า “ขณะนี้ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่กำลังกลับมาฟื้นตัว ดังนั้นความสามารถในการส่งออกของอาเซียนจะสามารถนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ แต่สถานการณ์ไวรัสในขณะนี้ทำให้โอกาสลดน้อยลง”
นอกจากนี้ การบริโภคในประเทศและภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจสำคัญของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงไม่ฟื้นตัวส่งผลให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่น สกุลเงินของหลายประเทศเริ่มอ่อนค่าลง ขณะที่หลายประเทศยังได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ลงอีกรอบ ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซียที่ปรับลดมาอยู่ที่ 3.7-4.5% ไทย 0-1.5% และฟิลิปปินส์อยู่ที่ 6-7%
ทั้งนี้ หนทางที่จะผ่านพ้นวิกฤตไปได้คือการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรจำนวนมากโดยเร็วที่สุด แต่ปัจจุบันอัตราการฉีดวัคซีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงอยู่ที่ 9% ของประชากร
“เซียน เฟนเนอร์” นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียของบริษัทวิจัยด้านเศรษฐกิจ ออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ ระบุว่า
“การฉีดวัคซีนที่ล่าช้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น สิงคโปร์ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าการฟื้นตัวจะไม่สม่ำเสมอ และเสี่ยงที่จะใช้ระยะเวลามากขึ้นจากมาตรการควบคุมโรคต่าง ๆ ซึ่งความไม่แน่นอนเหล่านี้อาจสร้างความเสียหายเป็นเวลานานจนกลายเป็นแผลเป็นทางเศรษฐกิจของภูมิภาค”
ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น
เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat

Related Keywords

Malaysia , Philippines , Japan , Thailand , Brazil , China , Vietnam , Republic Of , Indonesia , Phrae , Chi Minh , D Asia Pacific Ocean , Samsung , Association Of Southeast Asian Nations , David Delta Smash , Phrae Province , Asia East , South China Morse , Indonesia Dempsey , Thailand Downtown Core Indonesia , Malaysia Vietnam , City Ho Chi Minh , Thailand Philippines , May Prince , Calgary Lee Senior , Economicsd Asia Pacific Ocean , Currency Silver , South Haven , மலேசியா , பிலிப்பைன்ஸ் , ஜப்பான் , தாய்லாந்து , பிரேசில் , சீனா , வியட்நாம் , குடியரசு ஆஃப் , இந்தோனேசியா , சி மிந் , சாம்சங் , சங்கம் ஆஃப் தென்கிழக்கு ஆசிய நாடுகள் , ஆசியா கிழக்கு , மலேசியா வியட்நாம் , தெற்கு புகலிடம் ,

© 2025 Vimarsana