vimarsana.com


มนัญญา กำชับ กรมวิชาการเกษตร เน้นย้ำผู้ประกอบการให้ยึดแนวปฏิบัติป้องกันเชื้อ โควิด-19 ตั้งแต่สวน โรงคัดบรรจุ จนถึงขั้นตอนขนส่งต้องเข้มข้นทุกขั้นตอน เผยจีนหวั่นเชื้อ โควิด-19 ปนเปื้อนไปกับสินค้านำเข้าออกมาตรการตรวจเข้มงวด พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่และด่านตรวจพืชกำกับดูแลการปฏิบัติงานที่ล้งทุกขั้นตอนป้องโควิดก่อนตรวจปิดตู้
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทยที่ยังมีอัตราการตรวจพบผู้ติดเชื้อในประเทศสูงอย่างต่อเนื่อง นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรแจ้งเตือนผู้ส่งออกผลไม้ไปประเทศจีนให้เฝ้าระวังและปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันเชื้อโควิด-19 ติดปนเปื้อนไปกับสินค้าผลไม้อย่างเคร่งครัด เนื่องจากปัจจุบันฝ่ายจีนมีมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 อย่างเข้มงวดเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก โดยสินค้าผลไม้ที่ส่งออกจีนจะถูกตรวจกรดนิวคลิอิกเพื่อหาเชื้อโควิด-19 ในสินค้า และตรวจหาเชื้อในคนขับรถสินค้า รวมทั้งการพ่นฆ่าเชื้อในสินค้า โดยเฉพาะที่ด่านโม่ฮานที่มีการตรวจสอบที่เข้มงวดมากได้มีการเน้นย้ำให้ผู้นำเข้าหรือบริษัทที่เป็นตัวแทนประสานกับผู้ส่งออกของไทยให้ทำการฆ่าเชื้อตู้คอนเทนเนอร์ทั้งภายในและภายนอก รวมถึงห้องคนขับ และฆ่าเชื้อบรรจุภัณฑ์ก่อนขึ้นตู้ โดยหากตรวจพบเชื้อโควิด-19 สินค้าผลไม้ครั้งที่ 1จะห้ามรถและสินค้าของบริษัทนั้นเข้าประเทศชั่วคราว 10-15 วันโดยอัตโนมัติ หากตรวจพบครั้งที่ 2 ห้ามรถสินค้าของบริษัทนั้นเข้าประเทศถาวรโดยอัตโนมัติ โดยในช่วงระหว่างวันที่ 15-22 กรกฎาคมที่ผ่านมามีการนำเข้าผลไม้ไทยที่ด่านโม่ฮานเฉลี่ยวันละประมาณ 100 ตู้
ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรจึงขอย้ำเตือนผู้ประกอบการของไทยในการควบคุม กำกับดูแลและป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 อย่างเข้มงวดตั้งแต่สวน โรงคัดบรรจุและขั้นตอนการขนส่งในทุกขั้นตอนเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ติดไปกับสินค้า ซึ่งในขณะนี้จีนได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้เป็นอย่างมาก หากตรวจพบอาจนำไปสู่การระงับการนำเข้าสินค้าผลไม้จากไทยได้ จึงขอให้ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้อย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน ซึ่งแนวทางดังกล่าวยึดตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) และ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยเป็นแนวทางปฏิบัติที่ทางจีนให้การยอมรับพร้อมกับแนะนำให้ประเทศคู่ค้าปฏิบัติด้วยเช่นกันเพื่อควบคุมสุขอนามัยของพนักงานและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ผลิต
"ต้องยอมรับว่าในขณะนี้จีนมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก จึงขอย้ำเตือนให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 อย่างเข้มงวด โดยจะมีเจ้าหน้าที่ภายในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตรเข้าไปติดตามกำกับดูแลที่โรงคัดบรรจุเพื่อให้ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เนื่องจากในช่วงนี้เข้าสู่ฤดูกาลส่งออกผลไม้ทางภาคใต้โดยเฉพาะทุเรียน โดยช่วงระหว่างวันที่ 1 - 26 กรกฎาคม 2564 มีการส่งออกทุเรียนไปจีนแล้วจำนวน 5,337 ตู้ และในเดือนสิงหาคมนี้จะมีผลผลิตทั้งทุเรียนและมังคุดออกสู่ท้องตลาดจำนวนมาก ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จ.สุราษฎร์ธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ภายในพื้นที่ของกรมวิชาการเกษตร ร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบใบรับรอง GAP และศัตรูพืช เพื่อออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้แก่ผู้ประกอบการส่งออก โดยกรมได้เพิ่มทั้งจำนวนบุคลากรและขยายระยะเวลาในการปฏิบัติงานจากเดิม 19.00 น.ไปจนถึง 22.00 น.เพื่อให้สามารถตรวจปิดตู้สินค้าให้กับผู้ประกอบการได้ทันโดยไม่มีสินค้าตกค้างในแต่ละวัน" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

Related Keywords

Surat ,Gujarat ,India ,China ,Thailand ,Roma ,Lazio ,Italy ,Phrae ,Chinese , ,Department Academic Agriculture Yum ,Department Academic ,Office Rd Developmental Agriculture ,Department Academic Agriculture ,Alcoa ,Alcoa David ,Erickson All ,Phrae Province ,Alcoa Roma Na ,Ball How ,United Nations ,சூரத் ,குஜராத் ,இந்தியா ,சீனா ,தாய்லாந்து ,ரோமா ,லேஸியோ ,இத்தாலி ,சீன ,அல்கோவா ,அனைத்தும் எப்படி ,ஒன்றுபட்டது நாடுகள் ,

© 2025 Vimarsana

vimarsana.com © 2020. All Rights Reserved.