Live Breaking News & Updates on University ford motor company

Stay informed with the latest breaking news from University ford motor company on our comprehensive webpage. Get up-to-the-minute updates on local events, politics, business, entertainment, and more. Our dedicated team of journalists delivers timely and reliable news, ensuring you're always in the know. Discover firsthand accounts, expert analysis, and exclusive interviews, all in one convenient destination. Don't miss a beat — visit our webpage for real-time breaking news in University ford motor company and stay connected to the pulse of your community

แอสตร้าเซนเนก้าเผยยารักษาโควิด-19 ของบริษัทมีโอกาสประสบความสำเร็จ

นายเมเน ปังกาลอส ผู้บริหารของแอสตร้าเซนเนก้ากล่าวว่า โอกาสในการเสนอการรักษารูปแบบใหม่เพื่อป้องกันโรคโควิด 19

New-york , United-states , Alcoa , Reuters , University-ford-motor-company-mr , Boone-bang , University-ford-motor-company , புதியது-யார்க் , ஒன்றுபட்டது-மாநிலங்களில் , அல்கோவா , ராய்ட்டர்ஸ்

วิจัยอังกฤษชี้วัคซีนไฟเซอร์-แอสตร้าฯป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้น้อยลงหลังฉีด 3

มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดเผยผลวิจัยล่าสุดระบุว่า วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์/บิออนเทค และวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า

Oregon , United-states , Phrae , Thailand , University-ford-motor-company , Ford-motor-company , Alcoa , Phrae-province , Congo-ontario-cheyne , มหาว-ทยาล-ย , ஓரிகந்

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.37/39 อ่อนค่าจากช่วงเช้า

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.37/39 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อย

Australia , Taiwan , Japan , United-states , Thailand , Indonesia , Oregon , Phrae , Sri-lanka , Indonesian , University-ford-motor-company

หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด ชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และแม่นยำ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นสิ่งสำคัญพร้อมเผยมุมมองเชิงสังคม จริยธรรม และความเปลี่ยนแปลงในช่วงการแพร่ระบาด


ผลการศึกษาวิจัยชี้ กว่าร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ปี 2563 ซึ่งเป็นผู้ที่มีงานทำมาก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียรายได้
กว่าร้อยละ 92 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองก่อนที่ภาครัฐจะออกมาตรการต่างๆ  โดยร้อยละ 94 มีการเว้นระยะห่างทางสังคม
สื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิค-19 ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาครัฐได้มีการจัดรายการเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19
หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด (MORU) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และกองทุนเวลคัม สหราชอาณาจักร ได้จัดทำการศึกษาวิจัยเรื่อง
“มุมมองเชิงสังคม จริยธรรม และความเปลี่ยนแปลงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามข้อคิดเห็นและทัศนคติจากกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่อมาตรการยับยั้งและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่ไม่ใช่มาตรการทางการแพทย์ (อาทิ มาตรการในการกักตัว การรักษาระยะห่างทางสังคม และการจำกัดการเดินทาง )และการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19
ผลจากการศึกษาวิจัยที่จัดทำในประเทศไทยได้ชี้ให้เห็นถึงกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการการยับยั้งและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่ไม่ใช่มาตรการทางการแพทย์ โดยได้แสดงถึงอายุ การศึกษา และรูปแบบครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากรในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการสื่อสารและการรับรู้ข่าวสารของประชากรในระหว่างการระบาดของโรคฯ
การศึกษานี้จัดทำขึ้นในระหว่างเดือนพฤษภาคม ปี 2563 ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรกในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะจัดทำขึ้นในประเทศไทยแล้ว ยังได้จัดทำขึ้นในอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย สหราชอาณาจักร อิตาลี และสาธารณรัฐสโลวีเนีย ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยในประเทศไทยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามแบบออนไลน์ทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 1,020 คน  (แบ่งเป็น ภาคกลางร้อยละ 28 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 27 ภาคใต้ร้อยละ 19 ภาคเหนือร้อยละ 19 และภาคตะวันออกร้อยละ 7)
กลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบ
ผลจากการศึกษาวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า กว่าร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้ที่มีงานทำมาก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียรายได้ ร้อยละ 50 ถูกลดเวลาในการทำงานและสถานที่ทำงานจำต้องปิดกิจการลงชั่วคราว ร้อยละ 20 ต้องหยุดทำงาน และร้อยละ 18 มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานไปเป็นแบบนิวนอลมอล อาทิ มีการทำงานจากที่บ้าน
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในช่วงอายุอื่น โดยร้อยละ 32 ของผู้ที่อยู่ในช่วงอายุนี้ตอบว่าถูกเลิกจ้างในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เปรียบเทียบกับผู้ที่มีช่วงอายุระหว่าง 25-34, 35-64 และ 65ปีขึ้นไป ที่ได้รับผลกระทบนี้ ที่ร้อยละ 25, 20 และ 22 ตามลำดับ
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการศึกษาในระดับต่ำกว่าประถมหรือมัธยมศึกษา ร้อยละ 90 ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียรายได้ ร้อยละ 24 ต้องออกจากงาน และกว่าร้อยละ 89 มีความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่าย
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 5 คนขึ้นไปหรืออยู่ในครอบครัวขยาย กว่าร้อยละ 80 มีความกังวลเป็นอย่างมากในเรื่องรายได้ในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในด้านภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลคนในครอบครัว
ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า กลุ่มผู้ที่ทำงานอยู่ในภาคการท่องเที่ยว และในธุรกิจนอกระบบในประเทศไทยได้รับผลกระทบและเป็นกลุ่มที่มีความกังวลต่อมาตรการต่างๆ มากที่สุด โดยจากรายงานดัชนีความเข้มงวดของภาครัฐต่อมาตรการด้านสาธารณสุขซึ่งจัดทำโดย the Oxford COVID-19 Government Response Tracker (OxCGRT) ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกแรก (ช่วงเดือนพฤษภาคม 2563) และอยู่ในช่วงของการดำเนินการวิจัยนี้พบว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเข้มงวดต่อมาตรการด้านสาธารณสุขมากที่สุดประเทศหนึ่ง (โดยมีคะแนนความเข้มงวดของมาตรการด้านสาธารณสุขถึง 75 จาก 100 คะแนน)  โดยมาตรการต่างๆ อาทิเช่น มาตรการการปิดพรมแดน มาตรการเคอร์ฟิว ฯลฯ ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการธุรกิจนอกระบบ อาทิ ร้านอาหารแนวสตรีทฟู๊ด และผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยว โดยก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ การถูกเลิกจ้าง และการปิดกิจการ
พฤติกรรมของประชากรในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
การศึกษาวิจัยนี้ยังพบว่า กว่าร้อยละ 92 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองก่อนที่ภาครัฐจะออกมาตรการต่างๆ  โดยร้อยละ 94 มีการเว้นระยะห่างทางสังคม ร้อยละ 85 หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้สูงอายุหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ร้อยละ 97 ใช้เครื่องป้องกันส่วนบุคคล อาทิ หน้ากากอนามัย และร้อยละ 95 ใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคในการทำความสะอาดร่างกาย ก่อนที่จะมีการออกมาตรการจากภาครัฐ แม้ว่าการศึกษานี้ไม่ได้มีการระบุถึงเหตุผลจากผู้ตอบแบบสอบถาม แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ได้แสดงถึงความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศอื่นๆ
การสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19
ในส่วนของการสื่อสาร และรูปแบบในการรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 นั้นมีรูปแบบที่คล้ายกันในทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคกลาง  ซึ่งสื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิค-19 ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาครัฐได้มีการจัดรายการเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ให้แก่ประชาชนผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในทุกเที่ยงวันตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรคฯ
ในส่วนของการรับข้อมูลข่าวสารนั้น ร้อยละ 88 ของผู้ตอบแบบสอบถามรับทราบข้อมูลผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ ผ่านทางเฟซบุ๊ก และแอพพลิเคชั่นไลน์
ในส่วนของความชัดเจนของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้น ส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ชัดเจน โดยร้อยละ 59 ตอบว่ายังคงสับสนเกี่ยวกับมาตรการความช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐ ร้อยละ 46 ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับโทษ หรือค่าปรับที่ไม่ปฎิบัติตามมาตรการภาคบังคับของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ตอบแบบสอบถามที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศ แต่ในด้านของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและการควบคุมโรค อาทิ แนวทางการเว้นระยะห่างทางสังคม การจัดการคนเองเมื่อเกิดอาการต่างๆ และความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ผู้ตอบแบบสอบถามกลับตอบว่าได้รับข้อมูลในหัวข้อนี้อย่างชัดเจนและมากเพียงพอ เมื่อเทียบกับข้อมูลด้านอื่นๆ
ข้อสังเกตที่สำคัญที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้ที่สามารถนำมาปรับใช้กับการออกมาตรการของภาครัฐในอนาคต สามารถแบ่งได้เป็น 4 ข้อใหญ่ ดังนี้
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับโรคโควิด-19 มาตรการต่างๆ ของภาครัฐ และความเข้าใจเชิงบวกต่อมาตรการของภาครัฐ มีส่วนทำให้การควบคุมโรคประสบความสำเร็จในประเทศไทยในช่วงแรกของการระบาดของโรค
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และแม่นยำ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก และเพื่อย้ำเตือนให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและตรงเป้าหมายโดยแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ สม่ำเสมอ เรียบง่าย และชัดเจนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโรค เนื่องจากข้อความเชิงบวกหรือเชิงลบอาจมีอิทธิพลต่อสาธารณะ
การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของประชากรในในช่วงแรกของการระบาดอยู่ระดับที่ดีถึงดีมากต่อมาตรการการด้านสาธารณสุขทั้งมาตรการภาคบังคับหรือโดยความสมัครใจ เช่นการกักกัน การแยกตัว และการรักษาระยะห่างทางสังคม
จากการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า การส่งข้อมูลมาตรการด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยช่องทางสื่อสารมวลชนของไทยและเครือข่ายการดูแลสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ประชาชนยังมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะช่วยให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้โดยการไม่ละเลยที่จะรักษาระยะห่างทางสังคม สวมหน้ากากอนามัย / หน้ากากผ้า และล้างมือบ่อยๆ
ท่านสามารถดาว์นโหลดผลการศึกษาวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://wellcomeopenresearch.org/articles/5-245  และ https://bmjopen.bmj.com/content/11/7/e046863.full
ที่มา: Mahidol-Oxford Tropical Medicine Research Unit (MORU)

Thailand , Roma , Lazio , Italy , United-kingdom , London , City-of , Phrae , Slovenia , K-center , Or-high-school

หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด ชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง


ผลการศึกษาวิจัยชี้ กว่าร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ปี 2563 ซึ่งเป็นผู้ที่มีงานทำมาก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียรายได้
กว่าร้อยละ 92 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองก่อนที่ภาครัฐจะออกมาตรการต่างๆ  โดยร้อยละ 94 มีการเว้นระยะห่างทางสังคม
สื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิค-19 ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาครัฐได้มีการจัดรายการเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19
หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด (MORU) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และกองทุนเวลคัม สหราชอาณาจักร ได้จัดทำการศึกษาวิจัยเรื่อง
"มุมมองเชิงสังคม จริยธรรม และความเปลี่ยนแปลงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19"  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามข้อคิดเห็นและทัศนคติจากกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่อมาตรการยับยั้งและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่ไม่ใช่มาตรการทางการแพทย์ (อาทิ มาตรการในการกักตัว การรักษาระยะห่างทางสังคม และการจำกัดการเดินทาง )และการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19
ผลจากการศึกษาวิจัยที่จัดทำในประเทศไทยได้ชี้ให้เห็นถึงกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการการยับยั้งและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่ไม่ใช่มาตรการทางการแพทย์ โดยได้แสดงถึงอายุ การศึกษา และรูปแบบครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากรในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการสื่อสารและการรับรู้ข่าวสารของประชากรในระหว่างการระบาดของโรคฯ
การศึกษานี้จัดทำขึ้นในระหว่างเดือนพฤษภาคม ปี 2563 ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรกในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะจัดทำขึ้นในประเทศไทยแล้ว ยังได้จัดทำขึ้นในอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย สหราชอาณาจักร อิตาลี และสาธารณรัฐสโลวีเนีย ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยในประเทศไทยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามแบบออนไลน์ทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 1,020 คน  (แบ่งเป็น ภาคกลางร้อยละ 28 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 27 ภาคใต้ร้อยละ 19 ภาคเหนือร้อยละ 19 และภาคตะวันออกร้อยละ 7)
กลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบ
ผลจากการศึกษาวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า กว่าร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้ที่มีงานทำมาก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียรายได้ ร้อยละ 50 ถูกลดเวลาในการทำงานและสถานที่ทำงานจำต้องปิดกิจการลงชั่วคราว ร้อยละ 20 ต้องหยุดทำงาน และร้อยละ 18 มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานไปเป็นแบบนิวนอลมอล อาทิ มีการทำงานจากที่บ้าน
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในช่วงอายุอื่น โดยร้อยละ 32 ของผู้ที่อยู่ในช่วงอายุนี้ตอบว่าถูกเลิกจ้างในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เปรียบเทียบกับผู้ที่มีช่วงอายุระหว่าง 25-34, 35-64 และ 65ปีขึ้นไป ที่ได้รับผลกระทบนี้ ที่ร้อยละ 25, 20 และ 22 ตามลำดับ
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการศึกษาในระดับต่ำกว่าประถมหรือมัธยมศึกษา ร้อยละ 90 ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียรายได้ ร้อยละ 24 ต้องออกจากงาน และกว่าร้อยละ 89 มีความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่าย
ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 5 คนขึ้นไปหรืออยู่ในครอบครัวขยาย กว่าร้อยละ 80 มีความกังวลเป็นอย่างมากในเรื่องรายได้ในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในด้านภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลคนในครอบครัว
ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า กลุ่มผู้ที่ทำงานอยู่ในภาคการท่องเที่ยว และในธุรกิจนอกระบบในประเทศไทยได้รับผลกระทบและเป็นกลุ่มที่มีความกังวลต่อมาตรการต่างๆ มากที่สุด โดยจากรายงานดัชนีความเข้มงวดของภาครัฐต่อมาตรการด้านสาธารณสุขซึ่งจัดทำโดย the Oxford COVID-19 Government Response Tracker (OxCGRT) ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกแรก (ช่วงเดือนพฤษภาคม 2563) และอยู่ในช่วงของการดำเนินการวิจัยนี้พบว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเข้มงวดต่อมาตรการด้านสาธารณสุขมากที่สุดประเทศหนึ่ง (โดยมีคะแนนความเข้มงวดของมาตรการด้านสาธารณสุขถึง 75 จาก 100 คะแนน)  โดยมาตรการต่างๆ อาทิเช่น มาตรการการปิดพรมแดน มาตรการเคอร์ฟิว ฯลฯ ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการธุรกิจนอกระบบ อาทิ ร้านอาหารแนวสตรีทฟู๊ด และผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยว โดยก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ การถูกเลิกจ้าง และการปิดกิจการ
พฤติกรรมของประชากรในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
การศึกษาวิจัยนี้ยังพบว่า กว่าร้อยละ 92 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองก่อนที่ภาครัฐจะออกมาตรการต่างๆ  โดยร้อยละ 94 มีการเว้นระยะห่างทางสังคม ร้อยละ 85 หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้สูงอายุหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ร้อยละ 97 ใช้เครื่องป้องกันส่วนบุคคล อาทิ หน้ากากอนามัย และร้อยละ 95 ใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคในการทำความสะอาดร่างกาย ก่อนที่จะมีการออกมาตรการจากภาครัฐ แม้ว่าการศึกษานี้ไม่ได้มีการระบุถึงเหตุผลจากผู้ตอบแบบสอบถาม แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ได้แสดงถึงความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศอื่นๆ
การสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19
ในส่วนของการสื่อสาร และรูปแบบในการรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 นั้นมีรูปแบบที่คล้ายกันในทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคกลาง  ซึ่งสื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิค-19 ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาครัฐได้มีการจัดรายการเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ให้แก่ประชาชนผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในทุกเที่ยงวันตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรคฯ
ในส่วนของการรับข้อมูลข่าวสารนั้น ร้อยละ 88 ของผู้ตอบแบบสอบถามรับทราบข้อมูลผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ ผ่านทางเฟซบุ๊ก และแอพพลิเคชั่นไลน์
ในส่วนของความชัดเจนของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้น ส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ชัดเจน โดยร้อยละ 59 ตอบว่ายังคงสับสนเกี่ยวกับมาตรการความช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐ ร้อยละ 46 ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับโทษ หรือค่าปรับที่ไม่ปฎิบัติตามมาตรการภาคบังคับของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ตอบแบบสอบถามที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศ แต่ในด้านของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและการควบคุมโรค อาทิ แนวทางการเว้นระยะห่างทางสังคม การจัดการคนเองเมื่อเกิดอาการต่างๆ และความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ผู้ตอบแบบสอบถามกลับตอบว่าได้รับข้อมูลในหัวข้อนี้อย่างชัดเจนและมากเพียงพอ เมื่อเทียบกับข้อมูลด้านอื่นๆ
ข้อสังเกตที่สำคัญที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้ที่สามารถนำมาปรับใช้กับการออกมาตรการของภาครัฐในอนาคต สามารถแบ่งได้เป็น 4 ข้อใหญ่ ดังนี้
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับโรคโควิด-19 มาตรการต่างๆ ของภาครัฐ และความเข้าใจเชิงบวกต่อมาตรการของภาครัฐ มีส่วนทำให้การควบคุมโรคประสบความสำเร็จในประเทศไทยในช่วงแรกของการระบาดของโรค
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และแม่นยำ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก และเพื่อย้ำเตือนให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและตรงเป้าหมายโดยแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ สม่ำเสมอ เรียบง่าย และชัดเจนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโรค เนื่องจากข้อความเชิงบวกหรือเชิงลบอาจมีอิทธิพลต่อสาธารณะ
การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของประชากรในในช่วงแรกของการระบาดอยู่ระดับที่ดีถึงดีมากต่อมาตรการการด้านสาธารณสุขทั้งมาตรการภาคบังคับหรือโดยความสมัครใจ เช่นการกักกัน การแยกตัว และการรักษาระยะห่างทางสังคม
จากการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า การส่งข้อมูลมาตรการด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยช่องทางสื่อสารมวลชนของไทยและเครือข่ายการดูแลสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ประชาชนยังมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะช่วยให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้โดยการไม่ละเลยที่จะรักษาระยะห่างทางสังคม สวมหน้ากากอนามัย / หน้ากากผ้า และล้างมือบ่อยๆ
ท่านสามารถดาว์นโหลดผลการศึกษาวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://wellcomeopenresearch.org/articles/5-245  และ https://bmjopen.bmj.com/content/11/7/e046863.full

Thailand , Roma , Lazio , Italy , United-kingdom , London , City-of , Phrae , Slovenia , K-center , Or-high-school

MORU ชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญช่วงโควิด-19

MORU ชี้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญช่วงโควิด-19
sanook.com - get the latest breaking news, showbiz & celebrity photos, sport news & rumours, viral videos and top stories from sanook.com Daily Mail and Mail on Sunday newspapers.

Thailand , Roma , Lazio , Italy , United-kingdom , Phrae , Slovenia , Public-health , University-ford-motor-company , K-center , Or-high-school

ที่ปรึกษา ศบค.เผยเตรียมฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็ม 3 ให้บุคลากรการแพทย์-กลุ่มเสี่ยง

ที่ปรึกษา ศบค.เผยเตรียมฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็ม 3 ให้บุคลากรการแพทย์-กลุ่มเสี่ยง
sanook.com - get the latest breaking news, showbiz & celebrity photos, sport news & rumours, viral videos and top stories from sanook.com Daily Mail and Mail on Sunday newspapers.

Durban , Kwazulu-natal , South-africa , United-states , Thailand , India , Roma , Lazio , Italy , Phuket , Bangkok , Krung-thep-mahanakhon

วัคซีนโควิดไขว้ได้ผล! งานวิจัยพบฉีดแอสตร้าเซนเนก้าผสมไฟเซอร์ กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี


วัคซีนโควิดไขว้ได้ผล! งานวิจัยพบฉีดแอสตร้าเซนเนก้าผสมไฟเซอร์ กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
29 มิ.ย. 64 (08:24 น.)ความคิดเห็น
สนับสนุนเนื้อหา
งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด พบว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว ตามด้วยวัคซีนของไฟเซอร์หลังรอ 4 สัปดาห์ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้รับยาได้ดีกว่าการรับวัคซีนตัวเดียวกันเป็นเข็มที่ 2
สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า ผลการวิจัยล่าสุดภายใต้ชื่อโครงการ Com-COV ที่จัดตารางการฉีดวัคซีนสองสูตรดังกล่าวร่วมกัน โดยทิ้งช่วงระยะเวลาต่างๆ กันออกไป เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการผสมวัคซีน สรุปว่า ไม่ว่าจะเว้นช่วงห่างเพียงใด การใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าร่วมกับวัคซีนของไฟเซอร์ ล้วนช่วยทำให้เกิดสารแอนตี้บอดี้ในปริมาณที่สูงมากเพื่อต่อต้านการเพิ่มขึ้นของโปรตีนโคโรนาไวรัสได้อย่างดี
ข้อมูลการวิจัยนี้เป็นการสนับสนุนการตัดสินใจของรัฐบาลบางประเทศในยุโรป ที่เริ่มนำเสนอวัคซีนตัวอื่นสำหรับเข็มที่ 2 ซึ่งไม่ใช่ของแอสตร้าเซนเนก้า หลังมีรายงานเกี่ยวกับปัญหาลิ่มเลือดแข็งตัวของผู้รับวัคซีนตัวดังกล่าว
แมทธิว สเนป ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ผู้อยู่เบื้องหลังการวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า แม้ผลการศึกษาล่าสุดจะช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการวางแผนแจกจ่ายวัคซีน แต่ไม่สามารถใช้เป็นคำแนะนำเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงแผนการฉีดวัคซีนสูตรต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกมาแล้ว
สเนป ระบุว่า การจัดการฉีดจากสูตรเดียวทั้งสองเข็มนั้นควรเป็นหลักปฏิบัติที่คงไว้เช่นเดิม ยกเว้นแต่กรณีที่มีเหตุผลจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
ในส่วนของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการ 830 คน และได้รับการฉีดวัคซีนห่างกัน 4 สัปดาห์ระหว่างสองเข็ม มีการค้นพบว่า การฉีดเข็มแรกด้วยวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าและเข็มที่สองเป็นของไฟเซอร์นั้น จะช่วยเพิ่มปริมาณแอนตี้บอดี้ได้สูงกว่า การที่เข็มแรกเป็นของไฟเซอร์ แล้วตามด้วยของแอสตร้าเซนเนก้า
รายงานข่าวระบุว่า เนื่องจากปริมาณวัคซีนที่ไม่ได้มีเกินความต้องการในเวลานี้ เจ้าหน้าที่ของอังกฤษแนะนำให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปรอเข็มที่สองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ และให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่านั้นรอเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์
ปัจจุบัน กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของชาวอังกฤษที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้วอย่างน้อย 1 เข็ม และราว 60 เปอร์เซ็นต์ ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว
โหลดเพิ่ม

Roma , Lazio , Italy , United-kingdom , Matthew-professora-university-ford-motor-company , University-ford-motor-company , Alcoa , Reuters , Alcoa-david , Sir-plain , Ann-county-body

สองพลังแกร่งกว่า ทดลองฉีด AZ ตามด้วย Pfizer ภูมิคุ้มกันดีขึ้น


สองพลังแกร่งฉีด AstraZeneca ตามด้วย Pfizer ภูมิคุ้มกันดีขึ้น
วันที่ 29 มิ.ย. 2564 เวลา 11:01 น.
มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดเผยผลการศึกษาพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดีเมื่อผสมวัคซีนต่างชนิด
ผลการศึกษาภายใต้โครงการ Com-COV ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดพบว่าเมื่อฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของ AstraZeneca ตามด้วย Pfizer โดยเว้นระยะห่าง 4 สัปดาห์สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดีกว่ารับวัคซีนชนิดเดียวกัน
โดยการศึกษาดังกล่าวได้ทำการทดลองฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดร่วมกันโดยเว้นระยะห่างแตกต่างกันออกไปเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการใช้วัคซีนต่างชนิด ซึ่งพบว่าไม่ว่าจะเว้นระยะห่างเท่าใด การฉีดวัคซีนของ AstraZeneca ร่วมกับ Pfizer ล้วนสร้างแอนติบอดีในปริมาณที่สูง
การทดลองครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลหลายปรเทศในยุโรปเริ่มเสนอวัคซีนตัวอื่นๆ สำหรับเข็มที่ 2 แทน AstraZeneca หลังมีรายงานถึงภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในผู้ที่ได้รับวัคซีนดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่อาการเกิดขึ้นเมื่อฉีดวัคซีนเข็มที่ 2
อย่างไรก็ตามศาสตราจารย์แมทธิว สเนป จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดเผยว่าแม้ผลการทดลองครั้งนี้จะช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการวางแผนแจกจ่ายวัคซีน แต่ยังไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นคำแนะนำในมีการเปลี่ยนแปลงแผนการฉีดวัคซีนก่อนๆ ที่ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกมาแล้ว
สเนปเสริมว่า แน่นอนว่ามันได้ผลดี แต่ควรคงหลักปฏิบัติเดิมไว้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจริงๆ เท่านั้น เนื่องจากหลักปฏิบัติเดิมที่ฉีดวัคซีน 2 เข็มชนิดเดียวกันได้ผ่านการทดลองทางคลินิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ การวิจัยข้างต้นมีอาสาสมัครผู้เข้าร่วม 830 คนที่ได้รับการฉีดวัคซีน 2 เข็มในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งพบว่าการฉีดวัคซีนของ AstraZeneca ตามด้วย Pfizer กระตุ้นการตอบสนองได้ดีที่สุด
นอกจากนี้การศึกษาดังกล่าวยังพบว่าการฉีดวัคซีน AstraZeneca 2 เข็มโดยเว้นระยะห่าง 45 สัปดาห์นั้นกระตุ้นภูมิคุ้มกันมากขึ้นแทนที่จะน้อยลง ซึ่งอาจเพิ่มความมั่นใจแก่ประเทศที่มีวัคซีน AstraZeneca ในจำนวนจำกัดในขณะนี้
ขณะที่พบว่าการฉีดวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 3 หลังฉีดเข็ม 2 นาน 6 เดือนทำให้ร่างกายสามารถสร้างแอนติบอดีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Photos by GABRIEL BOUYS and Ronny Hartmann / AFP
 

Bangladesh , University-ford-motor-company , Ford-motor-company , Alcoa , Europe-start , Professor-matthew , Clinic-source , பங்களாதேஷ் , ஃபோர்ட்-மோட்டார்-நிறுவனம் , அல்கோவா , ப்ரொஃபெஸர்-மேத்யூ

อ็อกซ์ฟอร์ดเผยผลศึกษาชี้ใช้วัคซีนแอสตร้าฯร่วมกับไฟเซอร์ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโ


ผลการศึกษาล่าสุดของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดพบว่า การนำวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์-บิออนเทค มาใช้ร่วมกันนั้น จะช่วยกระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กำลังขาดแคลนทั่วโลก
ผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารการแพทย์ Lancet ระบุว่า การนำวัคซีนของทั้งสองบริษัทมาใช้ร่วมกันนั้น จะช่วยสร้างแอนติบอดี้ที่มีความเข้มข้นสูงมาก ซึ่งจะสามารถป้องกันสไปค์โปรตีน IgG ที่อยู่ในไวรัสโควิด-19 ได้เมื่อได้รับการฉีดวัคซีนแต่ละโดสห่างกัน 4 สัปดาห์ ซึ่งหมายความว่า หากได้รับวัคซีนของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนของไฟเซอร์-บิออนเทค ตามกำหนดครบทั้งหมด ก็จะสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้
"การศึกษา Com-COV สามารถประเมินได้ว่า การใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ร่วมกันแสดงให้เห็นว่า วัคซีนเหล่านี้สามารถใช้แทนกันได้ และจะเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้วัคซีนในอังกฤษและในโครงการฉีดวัคซีนทั่วโลก" ศาสตราจารย์แมทธิว สเนปกล่าว โดยศาสตราจารย์สเนปเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์และวัคซีนวิทยาของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และเป็นหัวหน้าทีมในการทดลองครั้งนี้
"ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เมื่อได้รับวัคซีนทั้งสองชนิดในเวลาห่างกัน 4 สัปดาห์ตามกำหนด จะสามารถกระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับวัคซีนของอ็อกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า" ศาสตราจารย์สเนปกล่าว
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดเป็นแกนนำในการศึกษา Com-COV ซึ่งดำเนินการโดยสถาบัน National Immunisation Schedule Evaluation Consortium (NISEC) โดยการศึกษาดังกล่าวได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะประเมินความเป็นไปได้ในการใช้วัคซีนที่ต่างกันเพื่อพัฒนาให้เป็นวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/กัลยาณี โทร.Tel. 02-253-5000 ต่อ 363 อีเมล์: kallayanee.c@infoquest.co.th--

Oregon , United-states , United-kingdom , British , University-ford-motor-company , Alcoa , Ann-review-body , Professor-matthew , Pediatric-medicine , Ford-motor-company , ஓரிகந்