vimarsana.com


พุธ 23 มิถุนายน 2564
'ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก'ท้าทายความเป็นกลางอาเซียน
23 มิถุนายน 2564
175
'ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก'ท้าทายความเป็นกลางอาเซียน ขณะผู้เชี่ยวชาญมองว่าความเป็นกลางของอาเซียนกำลังลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 และเกิดวิกฤตการเมืองในเมียนมา
บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความเห็นว่า ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ที่ดูเหมือนจะมีเป้าหมายให้เลือกข้างระหว่างรัฐบาลวอชิงตันกับรัฐบาลปักกิ่งนั้น กำลังท้าทายจุดยืนด้าน“ความเป็นกลาง”ของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)โดยตรง เนื่องจากการเผชิญหน้ากันของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐและจีน ที่บ่อยครั้งขึ้นและไม่ใครยอมลงให้ใคร ทำให้เป็นเรื่องยากที่อาเซียนจะรักษาความเป็นกลางไว้ได้ตลอดในความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้น
ในการประชุมทางออนไลน์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนพลัส หรือ ADMM-Plus เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐพยายามผลักดันวิสัยทัศน์ของรัฐบาลวอชิงตันในการดำเนินยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกที่เป็นอิสระและเปิดกว้าง ขณะที่พลโทเว่ย เฟิงเหอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของจีน ให้คำมั่นปกป้องผลประโยชน์หลักของรัฐบาลปักกิ่งจนถึงที่สุด
แต่สำหรับ“อึ้ง เอ็น เฮน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสิงคโปร์มองว่าการที่ ออสติน ที่ถือเป็นตัวแทนจากสหรัฐ เว่ย ตัวแทนจากจีน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจากประเทศอื่นๆ 16 ประเทศมาประชุมร่วมกันเพื่อหารือในประเด็นต่างๆอาทิ ไต้หวัน ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ เหตุการณ์นองเลือดในเมียนมาเป็นเรื่องสำคัญ
"เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การประชุมของ ADMM-Plus เป็นการประชุมที่สำคัญเพราะเกี่ยวข้องกับทุกปัญหาที่เราจะหยิบยกขึ้นมาคุยกัน"รัฐมนตรีกลาโหมของสิงคโปร์ กล่าว
ด้านผู้เชี่ยวชาญการเมืองในภูมิภาค มีความเห็นว่า การประชุมนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่จะบ่งชี้ว่าบรรดาชาติสมาชิกอาเซียนสามารถวางตัวเป็นกลางได้ดีแค่ไหนอย่างไร และสามารถคงความเป็นกลาง ไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นได้อย่างแท้จริงตามที่บรรดาผู้นำอาเซียนชอบพูดหรือไม่
ที่ผ่านมา อาเซียนซึ่งประกอบด้วยประเทศเศรษฐกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก 10 ประเทศมักทำหน้าที่เป็นผู้ประสานรอยร้าวเมื่อเกิดข้อขัดแย้งทางการทูตของประเทศต่างๆในภูมิภาคหรือเป็นผู้ประสานงานข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจ แต่ขณะที่มหาอำนาจเศรษฐกิจรายใหญ่สุดของโลกอย่างสหรัฐพยายามผลักดันยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกอย่างจริงจัง ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลให้“ความเป็นกลาง”และ“ความสมานฉันท์”ของอาเซียนสั่นคลอน
“การผงาดขึ้นมาของการเจรจาว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงของประเทศมหาอำนาจทั้ง 4 ได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลีย หรือควอด และการเคลื่อนไหวของอำนาจจากภายนอกต่อยุทศาสตร์อินโด-แปซิฟิกจะเป็นบททดสอบสำหรับอาเซียน ถ้าควอด และกลุ่มความร่วมมืออื่นๆ ตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงพร้อมทั้งวางกรอบงานที่จะดำเนินการในอนาคต โดยไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ และความตั้งใจของอาเซียน ก็จะสั่นคลอนความเป็นกลางของอาเซียน”โคอิชิ อิชิกาวา นักวิจัยของสถาบันเอเชียศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอเชียของญี่ปุ่น ให้ความเห็น
รายงานวิเคราะห์ของนิกเคอิ เอเชีย ชิ้นนี้ระบุว่า ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกที่ครอบคลุมประเทศในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกจะเป็นยุทธศาสตร์ที่ทำให้เกิดความร่วมมือและการเผชิญหน้าระดับโลก
ที่ผ่านมา จีนขยายอิทธิพลผ่านข้อริเริ่มเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (บีอาร์ไอ)ที่ทำให้เกิดโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ โดยสภาพเพื่อความสัมพันธ์ต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มนักคิดในสหรัฐ ระบุว่า มี 139 ประเทศเข้าร่วมกับข้อริเริ่มนี้ของจีน รวมถึง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน
อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้สนับสนุนให้อาเซียนยึดมั่นใจหลักการ“ความเป็นกลาง”มีความวิตกกังวลอย่างมากว่าหลักการนี้กำลังลดลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 และเกิดวิกฤตการเมืองในเมียนมา ที่ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศสมาชิกอาเซียน เพราะการที่อาเซียนมีอิทธิพลน้อยลงอาจจะทำให้ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีนในภูมิภาครุนแรงขึ้น
อีกทั้งภูมิภาคอาเซียนที่มีสันติภาพน้อยลงก็อาจจะไม่ดึงดูดการลงทุนของต่างชาติอีกต่อไป นั่นเท่ากับทำให้ความพยายามพลิกฟื้นเศรษฐกิจของชาติสมาชิกอาเซียนสูญเปล่า

Related Keywords

United States ,Australia ,Japan ,India ,China ,Beijing ,North Korea ,Ireland ,Russia ,Washington ,Decatur ,Russian ,Ocean Pacific ,States Wei ,Ministry Defence ,Solidaritya Association ,Ministry Defense Chinaa It ,Country Members Association ,Ministry Defence United States ,Ministry Defence Association ,Institute Asia Age University Japan ,Ministry Defense Downtown Core ,National Members Association ,Alcoa ,Association Of Southeast Asian Nations Strategic ,Association Of Southeast Asian Nations ,Asia East ,Lloyd Oregon ,Ministry Defense China ,United States Wei ,China Minister ,Xvi Country ,Sunday Taiwan ,China South ,Ready Steady ,Association Of Southeast Asian Nations Alcoa ,Japan Ishikawa Ravens ,Ocean India Pacific ,United Express ,Country Members ,United States China ,Russian Japan ,Korea South India Australia ,Defense Downtown Core ,Decatur Country ,East Asia Samsung ,North Korea Last ,Japan South Korea Australia ,ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,ஆஸ்திரேலியா ,ஜப்பான் ,இந்தியா ,சீனா ,பெய்ஜிங் ,வடக்கு கொரியா ,ஐயர்ல்யாஂட் ,ரஷ்யா ,வாஷிங்டன் ,தேசதுர் ,ரஷ்ய ,கடல் பெஸிஃபிக் ,அமைச்சகம் பாதுகாப்பு ,அல்கோவா ,சங்கம் ஆஃப் தென்கிழக்கு ஆசிய நாடுகள் ,ஆசியா கிழக்கு ,சீனா அமைச்சர் ,ஞாயிற்றுக்கிழமை டைவாந் ,சீனா தெற்கு ,ரெடீ நிலையான ,ஒன்றுபட்டது எக்ஸ்பிரஸ் ,நாடு உறுப்பினர்கள் ,ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் சீனா ,தேசதுர் நாடு ,ஜப்பான் தெற்கு கொரியா ஆஸ்திரேலியா ,

© 2024 Vimarsana

vimarsana.com © 2020. All Rights Reserved.