Live Breaking News & Updates on All united enterprises

Stay informed with the latest breaking news from All united enterprises on our comprehensive webpage. Get up-to-the-minute updates on local events, politics, business, entertainment, and more. Our dedicated team of journalists delivers timely and reliable news, ensuring you're always in the know. Discover firsthand accounts, expert analysis, and exclusive interviews, all in one convenient destination. Don't miss a beat — visit our webpage for real-time breaking news in All united enterprises and stay connected to the pulse of your community

เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่สิบแปด): "สามขี้เมาคุยการเมือง"


เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่สิบแปด): “สามขี้เมาคุยการเมือง”
วันที่ 05 ก.ค. 2564 เวลา 11:19 น.
นวนิยาย
“สามขี้เมาคุยการเมือง” หรือ A Discourse by Three Drunkards on Government เป็นผลงานของนากาเอะ โชมิน ส.ส. พรรคเสรีนิยมของญี่ปุ่นเมื่อร้อยกว่าปีก่อน  นวนิยายเรื่องนี้มีดีถึงขนาดองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) คัดเลือกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมยิ่งใหญ่ของโลก
ตัวละครขี้เมาสามคนในเรื่องคือ อาจารย์นันไคที่รักในการดื่มสุราและคุยเรื่องการเมืองเป็นชีวิตจิตใจ และแขกแปลกหน้าสองคนที่มาหาอาจารย์ที่บ้านเพื่อหวังจะได้มีบทสนทนาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของญี่ปุ่น อาจารย์นันไคไม่รู้จักสองคนนี่มาก่อน และก็ไม่สนใจที่จะถามชื่อเสียงเรียงนาม แต่กลับตั้งชื่อให้เองเลย คนแรกถูกตั้งชื่อว่า
“สุภาพบุรุษ (ตะวันตก)” เพราะเขาเป็นคนญี่ปุ่นที่แต่งตัวตามแบบฝรั่ง ส่วนอีกคนหนึ่งได้ชื่อว่า
“นักสู้” เพราะแต่งชุดฮะกะมะตามประเพณีของญี่ปุ่นและออกแนวบู๊แบบซามูไร
คราวที่แล้ว
“สุภาพบุรุษ” ได้เปิดฉากการสนทนาโดยวิพากษ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และชื่นชมระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเสรีนิยมประชาธิปไตย  เนื้อหาที่เขากล่าวออกมานั้นแสดงให้เห็นว่าเขาเข้าใจในหลักเสรีนิยมประชาธิปไตยเป็นอย่างดี และเขาได้ตบหน้าชาติตะวันตกอย่างแรงจากการวิจารณ์ว่า ชาติตะวันตกที่อวดอ้างว่าเป็นเสรีประชาธิปไตย แต่ในทางปฏิบัติกลับย้อนแย้งในตัวเอง เพราะถ้าเป็นเสรีประชาธิปไตยจริงๆแล้ว ควรยกเลิกการมีกองทัพ และเปลี่ยนการรบให้เป็นการค้า  แต่ชาติตะวันตกกลับรบราฆ่าฟันกันเอง แถมยังมารุกรานประเทศในเอเชียอีกด้วย 
“สุภาพบุรุษ” เสนอว่า ญี่ปุ่นควรต้องรีบเปลี่ยนแปลงให้เป็นเสรีประชาธิปไตยที่แท้จริง และยกเลิกกองกำลัง หันมาทำการค้าการอุตสาหกรรม และหากชาติตะวันตกมารุกราน ญี่ปุ่นก็ไม่ควรจะต้องไปจับอาวุธสู้ แต่ควรต้อนรับชาติตะวันตกอย่างสุภาพ  หากพวกตะวันตกใช้กำลัง แต่ญี่ปุ่นไม่สู้ซะอย่าง ชาติตะวันตกก็ไม่ต่างจากแกว่งดาบในอากาศธาตุ  ไม่มีประโยชน์อันใดทั้งสิ้น      
------------------
ฟังมาแค่นี้ ท่านผู้อ่านน่าจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มนะครับ กลุ่มแรกคงเห็นว่า ความคิดทางการเมืองของ
“สุภาพบุรุษ” นั้นฟังดูดี แต่ช่างอุดมคติเหลือเกินเหมือนเดินเล่นอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็คงจะชื่นชมและตาม
“สุภาพบุรุษ” เข้าไปเดินเล่นในทุ่งลาเวนเดอร์ด้วย
ก่อนจะตัดสินอะไร เราควรต้องฟังแกสาธยายต่อ    
-------------------------
“สุภาพบุรุษ” กล่าวต่อไปว่า การที่ประเทศเล็กๆและไม่มีอำนาจ (ญี่ปุ่นขณะนั้น) ใช้กำลังต่อกรกับมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ มันก็จะไม่ต่างจากการปาไข่ไปบนหิน ไข่มันต้องแตก แต่หินมันไม่มีทางเป็นอะไรได้เลย และจากการที่คู่ต่อสู้ (ชาติตะวันตก) มีความทระนงอย่างยิ่งในอารยธรรมของตน พวกเขาจึงไม่น่าจะไร้ซึ่งหลักศีลธรรมที่เป็นแก่นแกนของอารยธรรมของพวกเขาเอง ทำไมชาติเล็กๆอย่างเราไม่ใช้หลักศีลธรรมเป็นอาวุธ  โดยหลักศีลธรรมที่ว่านี้เป็นสิ่งที่คู่ต่อสู้ของเราคาดหวังที่จะเป็น แต่ไม่สามารถทำได้?
ถ้าเราเอาหลักเสรีภาพต่างกองทัพ เอาความเสมอภาคต่างป้อมปราการ เอาภราดรภาพต่างดาบและปืนใหญ่ ใครในโลกจะกล้าโจมตีเรา ?   กลับกัน ถ้าเราจะอิงอยู่แต่เฉพาะป้อมปราการ ดาบ ปืนใหญ่ กองกำลังทหาร ที่ศัตรูของเราเราก็ใช้ และผลที่จะเกิดขึ้นก็คือ คนที่แข็งแรงมีแสนยานุภาพมากกว่าก็จะชนะ มันเป็นตรรกะทางคณิตศาสตร์ที่ไม่มีใครจะเถียงได้
แล้วทำไมเราจึงจะไม่ยอมรับการใช้เหตุผลที่มันชัดเจนแจ่มแจ้งในตัวมันเองอยู่แล้ว ถ้าศัตรูของเราใช้กำลังรุกรานและยึดครองประเทศของเรา แผ่นดินนี้จะต้องแบ่งกัน เพราะทั้งเขาและเราก็ต่างยีงมีชีวิตอยู่  มันจะมีความขัดแย้งแบบไหนเกิดขึ้น ? สมมุติว่า พวกเขายึดเอาไร่นาหรือบ้านของพวกเราไป หรือกดขี่ขูดรีดด้วยการเก็บภาษีอย่างหนักจากเรา คนที่มีปัญญาจ่ายก็ทนได้ แต่คนที่ไม่มีก็จะหาวิธีการตอบโต้ เพราะวันนี้ เราอาศัยอยู่ในประเทศ A และเราก็เป็นคนสัญชาติประเทศ A อย่างไรก็ตาม ถ้าพรุ่งนี้ เราอาศัยอยู่ในประเทศ B และเราก็จะเป็นคนสัญชาติประเทศ B  มันไม่มีอะไรซับซ้อน ตราบเท่าที่โลกยังอยู่ และโลกยังไม่ใช่บ้านสำหรับมนุษยชาติ ไม่ใช่ว่าทุกๆประเทศในโลกเป็นบ้านของเราหรือ ?
----------------------- 
คำกล่าวของคุณสุภาพบุรุษที่ว่า
“วันนี้ เราอยู่ประเทศ A เราก็มีสัญชาติ A  แต่หากพรุ่งนี้ เราอยู่ประเทศ B เราก็เป็นคนสัญชาติ B”  เขาต้องการสื่อว่า เรื่องประเทศชาติ หรือสัญชาตินั้นเป็นสิ่งสมมุติ อย่าไปยึดติดมาก ชาติและสัญชาติไม่สำคัญเท่ากับเสรีภาพและความเสมอภาคที่มนุษย์มีโดยธรรมชาติ และเมื่อมนุษย์ทุกคนมี ทุกคนจึงมีสายสัมพันธ์ร่วมกันหรือมีภราดรภาพนั่นเอง และจริงๆแล้ว โลกทั้งใบนี้น่าจะเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองสำหรับมนุษย์ทุกคน  โดยไม่ต้องมีการแบ่งแยกเป็นประเทศเป็นชาติ และนิยมชาติหรือชาตินิยม  
---------- 
สุภาพบุรุษกล่าวต่อไปว่า จริงๆแล้ว ศัตรูของเราไม่มีความสุภาพอ่อนน้อม แต่เรามี  พวกเขาขัดแย้งกับหลักเหตุผล แต่เรายืนหยัดด้วยหลักเหตุผล สิ่งที่พวกเขาเรียกว่าอารยธรรม ก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากความป่าเถื่อน แต่สิ่งที่พวกเขาเรียกเราว่าป่าเถื่อน จริงๆแล้วมันคือแก่นแท้แห่งอารยธรรม หากพวกเขาโกรธและใช้ความรุนแรงตามอำเภอใจ พวกเขาจะทำอะไรได้ ถ้าเรายิ้มและยึดมั่นใน
“วิถีแห่งความเป็นมนุษย์” 
เพลโต เม่งจื่อ สเปนเซอร์ (Herbert Spencer นักทฤษฎีวิวัฒนาการ) มาลบรานฌ์ (Nicolas Malebranche นักปรัชญาที่ให้ความสำคัญกับการใช้เหตุผล) อริสโตเติลหรือวิคเตอร์ ฮูโก้จะมองเราอย่างไร ? และทั้งโลกที่กำลังเฝ้าเราดูอยู่จะว่าอย่างไร ? เราไม่ควรต้องสนใจว่าปรากฎการณ์แบบนี้จะเคยหรือไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนการเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่  แต่มันดูประหลาดมาก ที่ไม่มีใครเคยลองทำมาตั้งแต่ครั้งนั้น  ทำไมเราไม่เริ่มทำให้เป็นตัวอย่าง ? สรุปคือ ความคิดในการทำสงครามเพื่อปกป้องชาติคือความโง่เขลาอย่างถึงที่สุด !
ยังไม่ทันที่
“สุภาพบุรุษ” จะพูดจบ
“นักสู้” ก็ได้กล่าวขึ้นมาว่า ท่านเสียสติไปแล้วหรือ ? ท่านบ้าไปแล้ว  มันวิปลาสมากที่ประเทศที่ประกอบไปด้วยคนที่แข็งแรงนับล้านๆเลือกที่จะไม่ลุกขึ้นสู่ เลือกที่จะไม่ชักดาบออกจากฝักหรือไม่ยิงแม้แต่กระสุนนัดเดียว แต่กลับปล่อยให้ผู้รุกรานปล้นประเทศของเรา ดีที่ข้าฯยังไม่บ้า อาจารย์นันไคก็ไม่บ้า และพี่น้องร่วมชาติเราก็ไม่บ้า เป็นไปไม่ได้ที่พวกเราจะเห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านได้กล่าวไป
แต่ก่อนที่
“นักสู้” จะพูดต่อไป อาจารย์นันไคก็ยิ้มและขัดขึ้นมาว่า เดี๋ยวก่อน รอแป๊บหนึ่ง ท่านนักสู้ ขอให้
‘คุณสุภาพบุรุษ’ พูดให้เสร็จก่อนเถิด ‘นักสู้’ ยิ้มเช่นเดียวกันและน้อมรับคำขอของอาจารย์นันไค คุณสุภาพบุรุษจึงได้กล่าวต่อไปว่า อันที่จริง บรรดาผู้คิดว่าตัวเองเป็นนักการเมืองนั้น แท้จริงแล้ว พวกเขาคือ นักนักบวชที่รับใช้เทพเจ้าแห่งการเปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเขาไม่ควรเพียงแต่ให้ความสนใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า แต่ควรต้องคิดให้ดีถึงอนาคต  นั่นคือ เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการชอบที่ก้าวไปข้างหน้ามากกว่าจะถอยหลัง และถ้าเส้นทางการไปสู่อนาคตมันราบรื่น สดใส มันก็ดี ต่แม้นว่า มันจะเต็มไปด้วยอุปสรรคแสนยากแค้นเพียงไร แต่เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการก็ย่อมไม่ท้อถอย พระองค์ไม่สะทกสะท้าน และจะปลุกเร้าตัวเองให้ก้าวต่อไปข้างหน้า และต่อสู้กับอุปสรรคขวากหนามทั้งหลาย พระองค์จะไม่วิตกกลัวเกรงเมื่อบรรดาคนผู้ไร้เหตุผลจะต่อสู้ห้ำหั่นกันเอง อันทำให้เกิดภาพแห่งความโกลาหลของการปฏิวัตินองเลือด  เพราะพระองค์เห็นว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นสาเหตุตามธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ดังนั้น บรรดานักการเมืองที่ประดุจได้ดั่งนักบวชที่อุทิศตัวเองให้เทพเจ้าก็จะยืนหยัดที่จะต่อสู้กับอุปสรรคขวากหนามและกำจัดสาเหตุใดๆที่ขัดต่อพระประสงค์ของเทพเจ้า และนี่คือหน้าที่อันสำคัญยิ่งของนักบวชแห่งการวิวัฒนาการ ระบบอะไรเล่าที่ขัดขวางหลักการแห่งความเสมอภาค ?  และระบบอะไรที่ขัดขวางและทำลายหลักการอันยิ่งใหญ่แห่งเสรีภาพ ?
ถ้านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เป็นรัฐบาลในสมัยพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งของอังกฤษหรือพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ของฝรั่งเศสเปิดตาเปิดใจตัวเอง และถ้าพวกเขาสามารถรับรู้แนวโน้มแห่งกาลเวลาได้อย่างรวดเร็ว คาดการณ์ถึงอนาคตของประวัติศาสตร์ และมีปัญญาที่จะแผ้วทางให้เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการ พวกเขาก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดกลียุคได้ (กลียุคที่ว่านี้ คือ สงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งและฝ่ายรัฐสภาในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1642-1649  ที่ลงเอยด้วยการพ่ายแพ้ของฝ่ายกษัตริย์และพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งถูกพิพากษาสำเร็จโทษด้วยการบั่นพระเศียร ---  ส่วนในกรณีของฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหก ได้เกิดการปฏิวัติที่ตามมาด้วยยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัว และพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหกถูกพิพากษาสำเร็จโทษบั่นพระเศียรด้วยเครื่องกิโยติน)                                                                                          
         ชาร์ลสที่หนึ่ง
อย่างไรก็ตาม อังกฤษไม่เคยมีตัวแบบให้เรียนรู้มาก่อนหน้านั้น อังกฤษเป็นชาติแรกที่จะต้องผ่านประสบการณ์อันเลวร้าย และด้วยเหตุนี้ จึงสมควรที่จะได้รับความเห็นใจในความล้มเหลวของรัฐบุรุษอังกฤษในการที่จะหามาตรการจำเป็นที่จะทำให้ไม่เกิดความหายนะ อังกฤษสมควรได้รับความเห็นใจในความสูญเสียที่เกิดขึ้น
ตรงกันข้าม ฝรั่งเศสไม่สามารถมีข้อแก้ตัวได้ เพราะฝรั่งเศสได้รับรู้ความหายนะอันน่าสะพรึงกลัวของอังกฤษที่เกิดขึ้นก่อนหน้าการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นเวลานานนับศตวรรษ แต่ฝรั่งเศสก็ไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจากประสบการณ์ของอังกฤษ แต่กลับยังมีจิตใจคับแคบ และนโยบายต่างๆที่ออกมาก็เป็นนโยบายที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่สูญเปล่า ในขณะที่อาการของกลียุคมันปรากฎให้เห็นชัดๆ  แต่ฝรั่งเศสก็กลับกลบเกลื่อนความเจ็บไข้ของตนและไม่พยายามที่จะหานายแพทย์ที่เชี่ยวชาญ การลังเลทำให้เกิดข้อสงสัยในหมู่ประชาชนคนธรรมดา และการกระทำและคำพูดที่ยั่วยุก็ได้ไปปลุกอารมณ์ความไม่พอใจของผู้คน  ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เกิดความหายนะอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เลือดท่วมแผ่นดิน ประเทศทั้งประเทศได้กลายเป็นโรงฆ่าสัตย์  จะโทษใครเล่า ? เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการ ? หรือนักบวชแห่งศาสนาแห่งวิวัฒนาการ ?
      หลุยส์ที่สิบหก
เมื่อตอนที่พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่เป็นกษัตริย์หรือในช่วงต้นรัชสมัยของหลุยส์ที่สิบห้า  ถ้านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสามารถที่จะมองไปในอนาคตข้างหน้าได้ไกลๆหลายทศวรรษหรือศตวรรษและพากันร่วมไม้ร่วมมือในการค่อยๆขจัดประเพณีอันเลวร้ายที่สืบเนื่องมายาวนาน และแทนที่ด้วยโครงการใหม่ๆที่ดี ฝรั่งเศสน่าก็จะต้องการเพียงแค่การก้าวไปเพียงทีละก้าวในการรับประชาธิปไตยและความเสมอภาคในช่วงปลายรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ (โดยไม่ต้องมีการปฏิวัติที่เป็นการก้าวกระโดดและเกิดความรุนแรงและเสียหายมากมาย)
พระองค์ก็จะไปรัฐสภาด้วยอาการที่สุขุมสงบนิ่ง ถอดมงกุฎและพระแสงดาบของพระองค์ และต้อนรับโรเบสปิแอร์และคนอื่นๆด้วยรอยยิ้มบนพระพักตร์อันสงบสุขุมและกล่าวว่า
“ท่านสุภาพบุรุษทั้งหลาย มีภารกิจตรงหน้าของพวกเรา ข้าพเจ้าได้กลายเป็นสามัญชนและจะทำเพื่อประเทศของเรา” จากนั้นพระองคและพระบรมวงศานุวงศ์จะทรงเลือกที่ที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม ซื้อที่ดินแปลงใหญ่เพื่อทำการเกษตรและมีชีวิตที่พอสุขสบาย และพระองค์จะทรงสามารถทำให้คนรุ่นหลังจดจำพระองค์ในฐานะกษัตริย์ที่สละอำนาจอย่างงดงามและมีเกียรติศักดิ์ศรี
นวนิยายเรื่องนี้ปรากฏสู่สายตาคนญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2430 ก่อนหน้าที่จะมีรัฐธรรมนูญสองปี และก่อนที่จะมีการเลือกตั้งครั้งแรกสามปี
จะเห็นได้ว่า ความคิดทางการเมืองของ
“สุภาพบุรุษ” เป็นแนวคิดที่เชื่อในกฎวิวัฒนาการ ที่เห็นว่า อย่างไรเสีย โลกมนุษย์ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลงนี้นำไปสู่ความก้าวหน้าของมนุษยชาติ  เสรีภาพและความเสมอภาคคือเป้าหมายสำคัญของการเปลี่ยนแปลง  ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถยืนหยัดฝืนกฎวิวัฒนาการได้ การเมืองการปกครองของทุกประเทศย่อมจะต้องก้าวไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ผู้คนมีเสรีภาพและความเสมอภาค
ดังนั้น ถ้าตระหนักรู้และเข้าใจในกฎวิวัฒนาการนี้ แทนที่จะฝืนรอให้สถานการณ์สุกงอมจนเกินไป  ผู้มีอำนาจทางการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ก็จะรู้จักที่จะปรับเปลี่ยนพาตัวเองและสังคมก้าวไปสู่การเป็นสังคมเสรีประชาธิปไตยเสียแต่เนิ่นๆและอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการเปลี่ยนแปลงอย่างฉบับพลันที่เกิดจากการใช้กำลังความรุนแรงก็ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น  บทเรียนมีมาแล้วในอดีต เราไม่จำต้องให้เกิดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น
ข่าวที่เกี่ยวข้องในอดีต

China , Japan , Roma , Lazio , Italy , United-kingdom , Spain , France , Belarus , Japanese , British , Chai-providence

ว่าด้วย "อธิปไตยทางการเงิน"

ว่าด้วย "อธิปไตยทางการเงิน"
thairath.co.th - get the latest breaking news, showbiz & celebrity photos, sport news & rumours, viral videos and top stories from thairath.co.th Daily Mail and Mail on Sunday newspapers.

Taiwan , Toronto , Ontario , Canada , United-enterprisesa-optional , Policy-financial , Sunday-zimbabwe , New-taiwan , Policy-finance , All-united-enterprises , Maybe-rush

'ปารีณา' ยื่นหนังสือ UN ปกป้อง ม.112 ชี้ทั่วโลกก็มีกม. ปกป้องสถาบัน

'ปารีณา' ยื่นหนังสือ UN ปกป้อง ม.112 ชี้ทั่วโลกก็มีกม. ปกป้องสถาบัน
mthai.com - get the latest breaking news, showbiz & celebrity photos, sport news & rumours, viral videos and top stories from mthai.com Daily Mail and Mail on Sunday newspapers.

Thailand , Belarus , Maha-king , United-enterprises , All-united-enterprises , State-last , Flora-high , Allstate , Thailand-belarus , தாய்லாந்து , பெலாரஸ் , ஒன்றுபட்டது-நிறுவனங்கள்