vimarsana.com

Card image cap


สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างความท้าทายต่อธุรกิจทั่วโลก หลายประเทศยังใช้มาตรการล็อกดาวน์จำกัดการเดินทาง ทำให้บริษัทระดับโกลบอลต้องปรับกลยุทธ์รับกับเทรนด์ next normal เพื่อบริหารเครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศให้การทำงานไม่สะดุด
“ดร.กิรณ ลิมปพยอม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บ้านปู เพาเวอร์ หรือ BPP ให้สัมภาษณ์ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงนโยบายการบริหารรับเทรนด์โลกโควิด เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่เป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า 5,300 เมกะวัตต์ จากปัจจุบัน 2,946 เมกะวัตต์ พร้อมเพิ่มสัดส่วนหมุนเวียนให้ได้ 40-50%
จุดเปลี่ยนการทำงานยุคโควิด
ปัจจุบัน BPP มีฐานโรงไฟฟ้าใน 6+1 ประเทศ คือ ไทย ลาว เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย บวกอเมริกา ที่ยังเป็นบวก 1 เพราะยังไม่ได้เกิดการลงทุน กำลังทำดีลคาดว่าจะชัดเจนในไตรมาส 3-4 นี้ เรื่องการเจรจาซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอยู่ใกล้กับแหล่งก๊าซธรรมชาติของบริษัทแม่ (บมจ.บ้านปูฯ)
“การบริหารจัดการบริษัทข้ามชาติใหญ่ ๆ ไซซ์ขนาดบ้านปูฯที่ operate ในหลายประเทศ จำเป็นต้องปรับ เพราะในสภาวะโควิดแบบนี้ต่อให้ผู้บริหารจะสามารถบินไปดูได้ทุกเดือน
แต่ก็จะไม่เหมือนกับตัวคนที่อยู่ในประเทศนั้น และแต่ก่อนถ้าจำเป็นสามารถทำเดย์ทริปไปสิงคโปร์ ญี่ปุ่นไปได้เลยปกติ เพราะไม่ต้องมีวีซ่า แต่ตอนนี้บางประเทศต้องมีควอรันทีน บินกลับกรุงเทพฯต้องมี 14 วัน รวมเวลาควอรันทีนก็เกือบเดือนแล้ว ยังไม่รวมการทำธุรกิจ”
โมเดล country base approach
บริษัทได้นำหลักการ country base approach มาใช้ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง
ให้ทีมท้องถิ่นดำเนินงานตามเป้าหมายในทิศทางเดียวกับสำนักงานใหญ่ (headquarter) โดยประยุกต์หลักการบริหารแบบ hard skill กับ soft skill หรือพระเดชพระคุณ
โดย “hard skill” จะมีการกำหนด KPI ร่วมกัน การแต่งตั้งคนจากสำนักงานใหญ่เข้าไปเป็นบอร์ดบริหาร เพื่อเป็นตัวแทนประชุมบอร์ดทุก ๆ 2 สัปดาห์ หรือเดือนละครั้งเพื่อควบคุมนโยบาย
รับทราบความคืบหน้าการประชุมผ่านทางออนไลน์ การกำหนด standard operating procedure (SOP) รวมถึงการมอบอำนาจ delegation of authority (DOA) ในการตัดสินใจ
soft skill คือการใช้วัฒนธรรมองค์กรให้ทุกคนเดินไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเรื่องภาวะผู้นำโดยเฉพาะที่สำนักงานใหญ่สำคัญที่สุด เพราะในแง่บุคคลนอกเหนือจากการเลี้ยงชีพ คือการได้ความภาคภูมิใจ ชื่นชม ยอมรับจากองค์กร หัวหน้างาน
ขณะเดียวกันพนักงานจะเห็นภาวะผู้นำของหัวหน้าจากการสนับสนุน ช่วยเหลือ ต่อยอดจากความเชี่ยวชาญของเรา หรือช่วยประสานกับส่วนอื่น ๆ ให้งานราบรื่น
“เราดำเนินการโดยมีเรื่องของ local expertise มาเป็นปัจจัยที่มีความแตกต่างของวัฒนธรรมในแต่ละประเทศ น้ำหนักอะไรเท่าไร ถือเป็นศิลปะในการบริหาร เช่น ล่าสุดที่ออสเตรเลียเป็นตัวอย่าง
พอร์ตโฟลิโอทรานซิชั่น ของกลุ่มบ้านปูฯใช้ Banpu Energy Australia บริษัทในพื้นที่ บริหารโดย CEO และทีมงานชาวออสเตรเลีย มีบ้านปู เน็กซ์ ถือหุ้น 20% เห็นชัดถึงการประสานการบริหาร ท่ามกลางสถานการณ์ new normal ยิ่งเห็นว่าโมเดลนี้ช่วยให้การบริหารงานของบริษัทอยู่เหนือข้อจำกัด”
เตรียมฟอร์มทีมอเมริกา
ต่อไปเมื่อดีลอเมริกาสำเร็จ เราจะใช้โมเดลเดียวกันนี้ด้วย โดยเราจัดจ้าง “บ้านปู นอร์ท อเมริกา” เป็นผู้วางระบบเรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ
และเริ่มรับคนมาแล้ว กำลังสร้างทีมผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับไฟฟ้าในอเมริกามา 20 ปี ่จากนั้นจะตั้งบริษัทลูก BPPUS เพื่อดูแล ซึ่งยังต้องใช้เวลาสักพัก
แต่ บมจ.บ้านปูในอเมริกาไม่ใหม่แล้ว เพราะเข้าไปลงทุนเชลก๊าซตั้งแต่ปี 2015-2016 มีทีมงานอยู่ที่นั่น 5-6 ปีแล้ว ล่าสุดปีที่แล้วบริษัทแม่ก็เพิ่งลงทุนเชลก๊าซที่เทกซัส ทีมนั้นก็มาช่วยกัน”
อเมริกาฐานผลิตครบวงจร
เป้าหมายสูงสุดของเรา อเมริกจะเป็นบริษัท integrated company โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว เพราะมีฝั่งซื้อวัตถุดิบโดยบริษัทแม่ทำเชลก๊าซ ส่วนฝั่งไปขายหรือ electricity trading ยังเป็นเรื่องใหม่ที่เราต้องเตรียมพร้อม
“ในอเมริกาจะมีกำลังการผลิตสามารถขยายได้ถึง 1,000-1,200 เมกะวัตต์ คาดว่าจะลงทุนต้นปี 2565 วางงบลงทุนไว้ 200-300 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเราเตรียมงบฯไว้แล้ว BPP มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
และตามวิชั่นกรีนเนอร์แอนด์สมาร์ตเตอร์ก็มีสถาบันการเงินที่อเมริกาและเมืองไทยสนใจ เพราะว่าการลงทุนตรงนี้จะเป็นการไปลงทุนโรงไฟฟ้าก๊าซ และมี renewable ด้วย
ตรงตามเทรนด์ ESG ของโลก ส่วนว่าจะลงทุน renew ประเภทไหน ยังอยู่ในระหว่างเริ่มศึกษาเลย ต้องยอมรับจริง ๆ ว่าเพิ่งเริ่ม แต่จะมาเร็ว เพราะทางนั้นสนับสนุนอย่างมาก”
กลยุทธ์เจาะตลาดอเมริกา
ภายในอเมริกามีตลาดไฟฟ้า 7-8 ตลาด ที่เป็นคนละเรกูเลเตอร์ กฎระเบียบคนละเรื่อง พอเรามาศึกษาตลาดอเมริกาแล้วทำให้เห็นเลยว่าคันทรี่เบสแอปโพรชมันจำเป็นจริง ๆ ยิ่งช่วงนี้เป็นโควิดยังคงจะเป็นอย่างนี้ต่อไป
“ตลาดไฟฟ้าในเทกซัสชื่อ เออร์คอท ครอบคลุมเฉพาะรัฐเทกซัสที่เดียวซึ่งมีขนาดใหญ่เกือบเท่าประเทศไทย ส่วนตลาดอีกตลาดที่บ้านปูฯมีการลงทุนเชลก๊าซมาเซลรัสไว้ชื่อ PJM ซึ่งครอบคลุม 13 รัฐทางฝั่งนอร์ทอีสต์
เช่น เพนซิลเวเนีย โอไฮโอ ในส่วนของนอร์ทอเมริกาก็มีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานของ North America ซึ่งการทำตลาดต้องมองว่าอยู่ตลาดไหน เพราะในแง่ renewable มีปัจจัยหลายอย่างต่างกัน อย่างแคลิฟอเนียร์ทำได้ เพราะเก็บภาษีสูง แต่ที่สำคัญต้องดูพัฒนาการแบตเตอรี่ด้วยเพื่อที่จะทำให้ดูว่า สามารถมีความสม่ำเสมอในการจ่ายไฟได้ขนาดไหน”
6 ประเทศระบบเทรดไฟต่างกัน
ที่ผ่านมาธุรกิจไฟฟ้ากลุ่มบ้านปู เน้นซื้อขายไฟฟ้าในไทยขายไฟให้กับEGAT เกือบ 100% ด้วยสัญญาซื้อขายระยะยาว 20-25 ปี เวียดนามก็เช่นกัน
แต่พอไปลงทุนญี่ปุ่น 4-5 ปีก่อน และที่ออสเตรเลีย หรืออเมริกา ระบบการซื้อขายจะไม่ได้มีสัญญาซื้อขายไฟระยะยาวอย่างนั้น หรือถ้ามีก็ไม่ใช่ทั้งหมดของไฟที่ผลิตได้ อาจเพียง 20-30% ส่วนใหญ่ 60-70%
ต้องไปขายในตลาดที่มีการประมูล (biding) ตอนนี้ใช้คำว่า electricity trading คือ ต้องเอาไฟที่ผลิตได้ไปเทรดในตลาดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ จึงต้องมีทีมเทรดเดอร์ และคันทรีเบสแอปโพรชจำเป็นจริงๆ
“ยิ่งออสเตรเลียกับอเมริกาเป็นตลาดที่เรียกว่าเมอร์ชั่นมาร์เก็ต แตกต่างกันทั้งกฎกติกามารยาท วิธีการทำงาน ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ สายส่ง การเข้าถึงแหล่งเชื้อเพลิงต่าง ๆ มีผลต่อการ กำหนดโมเดลเทรดไฟ”
อนาคตเรื่อง human resource น่าสนใจมาก ตำแหน่งเอ็นจิเนียร์ยังจำเป็นในการทำธุรกิจไฟฟ้าให้มีความสามารถในการทำกำไร และความพร้อมจ่าย แต่ด้านเทรดเดอร์โรงไฟฟ้าที่ไม่เคยมีมาก่อนก็อาจต้องมี เพราะว่าโรงไฟฟ้าพร้อมจ่ายต้องเอาไฟไปขาย
“เรื่องนี้กลุ่มบ้านปูไม่ได้ใหม่ถอดด้าม เราเริ่มมีฟังก์ชั่น electricity trading 3-4 ปี ที่ญี่ปุ่น ในออสเตรเลียก็เริ่ม จัดตั้งทีม electricity trading ในอเมริกาก็จะเป็นระบบเดียวกัน”
ขณะเดียวกันยกระดับเทคโนโลยีในระบบ electricity trading ก็มี AI เหมือนเล่นหุ้น เพราะสิ่งที่เรามีในมือมันเหมือนมีจังหวะเวลา รวมถึงการเดินหน้าสร้าง digital transformation มีส่วนสำคัญและยังเข้ามาช่วยการทำงานให้ราบรื่นเช่นกัน
ภาพ BPP ปี 2568
แผนการลงทุนโครงการใหม่ในอเมริการวมในแผน 5 ปีหรือในปี 2568 จะมี 5,300 เมกะวัตต์แล้ว โดย 4,500 เมกะวัตต์จะเป็นโรงไฟฟ้าแบบ High Efficiency Low Emissions (HELE) และจะมีสัดส่วนรายได้ EBITDA 40-50% มาจากกรีนเนอร์แอนด์สมาร์ตเตอร์
“ตอนนี้แผนการเติบโตเราอยู่ที่ต่างประเทศเป็นหลัก แม้ว่าจะมี 6+1 ประเทศแล้วแต่ก็ไม่ปฏิเสธโอกาสทางธุรกิจ หากมีโครงการดี ๆ เข้ามาก็คงไม่จำกัดตัวเอง”
ส่วนในประเทศไทยเริ่มนิ่ง เพราะยังมีสัญญา PPA ระยะยาว แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะลงทุน ถ้าเมืองไทยในอนาคต มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สมมุติ EEC หรือ EV เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
และตอนนี้เพิ่งมีแผน PDP 2018 REV1 เมื่อเดือน พ.ย.ปีก่อน ถ้ามีแผนการลงทุนของรัฐบาลที่ชัดเจนว่าจะเพิ่มดีมานด์การใช้ไฟฟ้า การลงทุนไฟฟ้าในไทยก็จะเริ่มขยับกันอีกครั้งหนึ่ง
ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น
เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat
หัวข้อข่าว:

Related Keywords

Australia , Japan , United States , Thailand , South Haven , Texas , Durban , Kwazulu Natal , South Africa , Vietnam , Republic Of , Sebastopol , Pennsylvania , France , Phrae , London , City Of , United Kingdom , Australian , America , Vietnamese , Japanese , American , , Companya Principles , Phrae Province , Alcoa David , Thailand Laos Vietnam China , Japan Australia , Downtown Core Japanese , Executive Order , United States Next , North America , United States New , Start Education , Red Telugu Slater , Irvine Neck , State Texas , Land Northeast , Pennsylvania Ohio , Board Director , Australia Or United States , Australian America Market , Japanese Australia , New United States , Green Weiner , ஆஸ்திரேலியா , ஜப்பான் , ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் , தாய்லாந்து , தெற்கு புகலிடம் , டெக்சாஸ் , டர்பன் , க்வஸூல்யூ நேட்டல் , வியட்நாம் , குடியரசு ஆஃப் , செபாஸ்டோபோல் , பென்சில்வேனியா , பிரான்ஸ் , லண்டன் , நகரம் ஆஃப் , ஒன்றுபட்டது கிஂக்டம் , ஆஸ்திரேலிய , அமெரிக்கா , வியட்நாமிய , ஜப்பானிய , அமெரிக்கன் , ஜப்பான் ஆஸ்திரேலியா , நிர்வாகி ஆர்டர் , ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் அடுத்தது , வடக்கு அமெரிக்கா , ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் புதியது , தொடங்கு கல்வி , நிலை டெக்சாஸ் , பென்சில்வேனியா ஓஹியோ , பலகை இயக்குனர் , ஜப்பானிய ஆஸ்திரேலியா , புதியது ஒன்றுபட்டது மாநிலங்களில் ,

© 2024 Vimarsana

vimarsana.com © 2020. All Rights Reserved.