Live Breaking News & Updates on Noonan chi

Stay informed with the latest breaking news from Noonan chi on our comprehensive webpage. Get up-to-the-minute updates on local events, politics, business, entertainment, and more. Our dedicated team of journalists delivers timely and reliable news, ensuring you're always in the know. Discover firsthand accounts, expert analysis, and exclusive interviews, all in one convenient destination. Don't miss a beat — visit our webpage for real-time breaking news in Noonan chi and stay connected to the pulse of your community

ญี่ปุ่น (ตอนที่ยี่สิบเก้า):ผู้ฝืนกฎวิวัฒนาการ

ญี่ปุ่น (ตอนที่ยี่สิบเก้า):ผู้ฝืนกฎวิวัฒนาการ
posttoday.com - get the latest breaking news, showbiz & celebrity photos, sport news & rumours, viral videos and top stories from posttoday.com Daily Mail and Mail on Sunday newspapers.

China , Japan , France , Noonan-chi , Chai-providence , Dempseya-europe , Asiaa-national , China-talisman-chai-providence , Reform-town , Principles-liberal , Great-depression , South-constitution-democratic

ญี่ปุ่น (ตอนที่ยี่สิบแปด): ความเห็นของอาจารย์นันไค,Kaew Sitt และ Padidon Apinyankul

ญี่ปุ่น (ตอนที่ยี่สิบแปด): ความเห็นของอาจารย์นันไค,Kaew Sitt และ Padidon Apinyankul
posttoday.com - get the latest breaking news, showbiz & celebrity photos, sport news & rumours, viral videos and top stories from posttoday.com Daily Mail and Mail on Sunday newspapers.

China , Geneva , Genè , Switzerland , Japan , Thailand , Japanese , Noonan-chi-scot , Noonan-chi , Chai-providence , Army-japanese , Panasonic

ญี่ปุ่น (ตอนที่ยี่สิบเจ็ด):  วัวอ้วนรอวันเชือด

ญี่ปุ่น (ตอนที่ยี่สิบเจ็ด):  วัวอ้วนรอวันเชือด
posttoday.com - get the latest breaking news, showbiz & celebrity photos, sport news & rumours, viral videos and top stories from posttoday.com Daily Mail and Mail on Sunday newspapers.

Myanmar , Japan , Thailand , Hong-kong , China , Toronto , Ontario , Canada , Poland , Guam , Burma , Japanese

เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่ยี่สิบห้า): "นักสู้: the Realist"

เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่ยี่สิบห้า): "นักสู้: the Realist"
posttoday.com - get the latest breaking news, showbiz & celebrity photos, sport news & rumours, viral videos and top stories from posttoday.com Daily Mail and Mail on Sunday newspapers.

Germany , Japan , United-states , Thailand , Hong-kong , Rome , Lazio , Italy , China , Geneva , Genè , Switzerland

เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่ยี่สิบเอ็ด): "สามขี้เมาคุยการเมือง"


เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่ยี่สิบเอ็ด): “สามขี้เมาคุยการเมือง”
วันที่ 26 ก.ค. 2564 เวลา 12:00 น.
นวนิยายเรื่อง
“สามขี้เมาคุยการเมือง” (A Discourse by Three Drunkards on Government) นี้ ปรากฏสู่สายตาคนญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2430 ก่อนหน้าที่จะมีรัฐธรรมนูญสองปี และก่อนที่จะมีการเลือกตั้งครั้งแรกสามปี  เป็นผลงานของนากาเอะ โชมิน ส.ส. พรรคเสรีนิยมของญี่ปุ่น  และต่อมาองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) คัดเลือกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมยิ่งใหญ่ของโลก
การสนทนาในนวนิยายเรื่องนี้น่าจะให้ข้อคิดที่ดีไม่น้อยสำหรับผู้อ่านบ้านเรา เพราะตัวละครในเรื่องนี้มีจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างกัน คนหนึ่งนิยมตะวันตก และต้องการให้ญี่ปุ่นดำเนินไปตามเส้นทางของประเทศตะวันตก นั่นคือ รับเอาอุดมการณ์เสรีนิยมและพัฒนาระบอบเสรีประชาธิปไตย ส่วนอีกคนหนึ่งนั้นยังเห็นว่าคุณค่าตามจารีตประเพณีของญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับคนญี่ปุ่น
ฟังดูแล้วก็ไม่ต่างจากข้อถกเถียงในสังคมไทยขณะนี้ ที่มีฝ่ายหนึ่งต้องการให้สังคมไทยรับอุดมการณ์เสรีภาพ ความเสมอภาพและภราดรภาพและเจริญรอยตามแนวการปกครองของตะวันตก ส่วนอีกฝ่ายนั้นต้องการรักษาคุณค่าและประเพณีวัฒนธรรมแบบไทยและถ้าหากจะเป็นประชาธิปไตย ก็เป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ
ตัวละครที่นิยมเสรีนิยมตะวันตกในเรื่องได้รับฉายาว่า
“สุภาพบุรุษ (ตะวันตก)” ส่วนตัวละครที่นิยมคุณค่าดั้งเดิมของญี่ปุ่นถูกตั้งฉายาว่า
“นักสู้ (ซามูไร)” ส่วนในบ้านเรา ฝั่งที่เป็นฝั่งเดียวกับ
“สุภาพบุรุษ” เรียกตัวเองว่า
“ฝ่ายประชาธิปไตย” และตั้งฉายาฝั่งตรงข้ามว่า
“สลิ่ม” บ้าง
ส่วนในบ้านเราที่เป็นฝั่งเดียวกับ
“นักสู้” ก็ไม่ได้เรียกตัวเองว่าอะไร อาจจะยังนึกไม่ออกว่า ตัวเองเป็นอะไรแน่ ? (5555 !) เพราะไม่เห็นมีใครในฝั่งนี้แอ่นอกยอมรับว่าเป็น
“อนุรักษ์นิยม”  และก็ไม่ชอบให้ถูกเรียกว่า
“สลิ่ม” หรือ
“สามกีบ” เพราะชอบชูสามนิ้วเป็นสัญลักษณ์ในการรณรงค์
ส่วนตัวละครตัวที่สามในเรื่องเป็นเจ้าบ้านที่เปิดที่ให้ดื่มและสนทนา เขาคือ อาจารย์นันไค ผู้รักในการดื่มและการสนทนาเรื่องการเมืองเป็นชีวิตจิตใจ และได้ชื่อว่า เมื่อเมาแล้ว ปัญญาจะแล่นโลด !
คนที่นำเสนอความคิดของตัวเองในวงสุราก่อนใครคือ สุภาพบุรุษ และคราวนี้ก็จะนำเสนอความคิดที่เขากล่าวในวงเหล้าต่อไป
“สุภาพบุรุษ” : “มักมีคนกล่าวว่า การที่ประเทศหนึ่งๆร่ำรวยและมีอำนาจขึ้นได้นั้น เป็นเพราะมีผลิตภาพผลิตผลที่สูง โดยผลิตภาพที่ว่านี้เป็นผลมาจากความเป็นเลิศในทางวิชาความรู้  อันเป็นผลจากการค้นพบความรู้วิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น ฟิสิกซ์ เคมี สัตววิทยา พฤษศาสตร์ และประยุกต์ใช้ความรู้เหล่านั้น รวมทั้งความรู้ทางคณิตศาสตร์ในการอุตสาหกรรมและการค้า ทำให้ประหยัดเวลาและแรงงานไปได้มาก และผลผลิตที่ได้ก็จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลและเหนือกว่าการผลิดด้วยแรงงานมนุษย์ และนี่คือสิ่งที่มีคนมักจะบอกว่า มันเป็นหนทางที่จะสร้างชาติให้เจริญรุ่งเรืองมั่งคั่ง และเมื่อชาติร่ำรวยแล้ว ก็จะสามารถรักษากำลังแสนยานุภาพทางการทหารอันยิ่งใหญ่ไว้ได้  และถ้ามีโอกาส ก็สามารถส่งกองกำลังไปขยายและยึดดินแดนไกลๆในเอเชียและอัฟริกาได้   และส่งคนของตนไปในอาณานิคมเหล่านั้น สร้างตลาดเพื่อขยายการค้าและซื้อวัตถุดิบในราคาถูกและมาผลิตเป็นสินค้าในราคาแพง  ได้กำไรมหาศาล
และเมื่ออุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรือง ตลาดขยายตัว กองกำลังทหารทั้งทางบกและทางทะเลก็จะเข้มแข็งตามไปด้วย  และการเติบโตที่ว่านี้ไม่ได้เป็นผลจากการสมาทานในหลักการแห่งเสรีภาพ”
จากข้างต้น
“สุภาพบุรุษ” ต้องการกล่าวถึงความเชื่อของคนจำนวนหนึ่งที่ว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศก้าวไปสู่การเป็นมหาอำนาจ คือ มีพัฒนาการความรู้ และนำความรู้นั้นไปใช้ในการผลิต การอุตสาหกรรม การค้า ส่งผลให้ประเทศมั่งคั่งร่ำรวย เมื่อร่ำรวยก็สามารถสร้างกองกำลังทิ่ยิ่งใหญ่ได้ และเมื่อมีกองกำลังที่ยิ่งใหญ่ได้ก็สามารถขยายดินแดนมีอาณานิคม ขยายตลาด กว้านซื้อวัตถุดิบและแรงงานราคาถูกและนำมาผลิตเป็นสินค้าที่ให้กำไรมหาศาลส่งเสริมความมั่งคั่งและแสนยานุภาพได้มากยิ่งขึ้น
แต่เขาไม่เห็นด้วยกับชุดคำอธิบายดังกล่าวนี้ เพราะ “การให้เหตุผลเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่รู้และการมองอะไรอย่างตื้นเขิน เพราะกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ล้วนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันและมีสาเหตุเกี่ยวข้องกัน หากพิจารณาให้ดี เราจะพบสาเหตุที่แท้จริง ดังที่จะไล่ตรรกะให้เห็นดังต่อไปนี้ ความมั่งคั่งของประเทศเกิดจากความเป็นเลิศในทางวิชาการความรู้ และความเป็นเลิศทางวิชาการความรู้ก็มาจากความมั่งคั่งด้วย แต่อะไรเล่าที่เป็นต้นธารของความเป็นเลิศทางวิชาการความรู้  ความมั่งคั่งหรือ ? มันจะกลายเป็นปัญหาที่ว่าไข่กับไก่ อะไรเกิดก่อนกัน ?!!
จริงๆแล้ว การเรียนรู้ที่เป็นเลิศเกิดขึ้นได้เพราะมนุษย์มีความก้าวหน้าในความรู้  แต่ทันทีที่ความรู้ก้าวหน้า ผู้คนก็ย่อมจะตาสว่างไม่เพียงแต่ในเรื่องวิชาการความรู้เทานั้น แต่ยังรวมไปถึงความเข้าใจในระบบการเมืองด้วย ดังนั้น ตั้งแต่ยุคโบราณมา ช่วงเวลาที่มีความก้าวหน้าในวิชาการความรู้อย่างรวดเร็วมากที่สุดในประเทศใดๆก็ตามจะเป็นช่วงที่ความคิดทางการเมืองเจริญเฟื่องฟูด้วย
วิชาการความรู้และความคิดทางการเมืองเปรียบได้กับกิ่งก้าน ใบ ดอก และผลที่งอกออกมาจากต้นไม้เดียวกัน โดยความรู้เปรียบได้กับลำต้น และทันทีที่ความรู้ก้าวหน้า และความคิดทางการเมืองเฟื่องฟู การบรรลุถึงเสรีภาพจึงเป็นเป้าหมายของกิจกรรมทุกอย่างทันที  และไม่ว่าจะเป็นใคร อาชีพอะไร  นักวิชาการ ศิลปิน ชาวนา ผู้ผลิต พ่อค้า ผู้ประกอบการ ล้วนจะมีความคิดอย่างหนึ่งที่อยูในใจพวกเขาตลอดเวลา นั่นคือ ความต้องการที่จะพัฒนาความคิดของตัวเองและบรรลุเป้าหมายทางความคิดโดยไม่มีอะไรมาจำกัด
และถ้าบรรดาคนที่อยู่ในอำนาจมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลเข้าใจถึงแนวโน้มแห่งยุคสมัย และมีความเข้าใจในความรู้สึกของมนุษย์ และก้าวไปไกลกว่าแค่ความปรารถนาในอำนาจ พวกเขาก็จะส่งเสริมให้ภาวะผู้นำแก่บรรดาพลเมืองที่มีความแข็งขันทางการเมือง  และเปิดประตูให้กระแสลมแห่งเสรีภาพได้พัดผ่านเข้ามา และกลไกทางสังคมก็จะสามารถปฏิบัติการได้อย่างเต็มสมรรถภาพ อันจะส่งผลให้ส่วนที่เน่าเสียของสังคมถูกจำกัดไปโดยปริยาย และความเจริญก้าวหน้าใหม่ๆก็จะเข้ามาแทนที่
นักวิชาการจะพยายามที่จะพัฒนาทฤษฎีต่างๆให้แม่นยำชัดเจนมากขึ้น  ศิลปินก็จะพยายามที่ปรับปรุงแนวความคิดของพวกเขา และประชาชนทุกสาขาอาชีพก็จะอุทิศในสายงานของตัวเอง  และจากบนลงล่าง ประเทศชาติจะได้ประโยชน์จากนโยบายเช่นนี้ และความมั่งคั่งก็จะอุบัติขึ้นส่วนคนที่เบาปัญญาที่อะไรเพียงผิวเผินจะไม่มีทางเข้าใจผลพวงอันยิ่งใหญ่นี้ได้เลย
นอกจากนี้ เรื่องราวความเป็นไปของโลกจะเดินไปข้างหน้าเสมอ ไม่มีถอยหลัง มันเป็นกฎตายตัวที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง อย่างเช่นที่ นักปราชญ์กรีกโบราณที่ชื่อ เฮราไคลตัสได้กล่าวไว้ว่า ไม่มีใครแหย่เท้าลงบนสายน้ำอันเดิมในแม่น้ำได้ เพราะสายน้ำมันไหลอยู่ตลอดเวลา เขาเข้าใจกฎแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างถ่องแท้ แม้ว่าสมัยนั้น วิธีคิดในแบบประจักษ์นิยมยังไม่พัฒนาเต็มที่และวิทยาศาสตร์ก็ยังบรรพกาลอยู่ก็ตาม ดังนั้น ในสมัยนั้น ความคิดในแบบของเฮราไคลตัสดูจะเกินจริงไปสำหรับผู้คน แต่ในศตวรรษที่สิบแปด นักคิดฝรั่งเศสอย่างดิเดโรต์ (Diderot) และมาคี เดอ กองดอร์เซต์ (Condorcet) ต่างยืนยันว่า กฎวิวัฒนาการนี้ปฏิบัติการมาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยเฉพาะในสังคมมนุษย์
ลามาร์ค (Lamarck) นักพฤษศาสตร์และสัตววิทยาผู้มีชื่อเสียง เป็นคนแรกที่นำเสนอทฤษฎีที่ว่า สปีชี (species) ต่างๆทุกสปีชีล้วนแต่เปลี่ยนแปลงในทุกรุ่น และไม่มีอะไรที่เหมือนเดิมไปได้ตลอดกาล จากนั้น เกอเธอร์ (Goethe) แห่งเยอรมนี และจอฟฟรัว(Étienne Geoffroy Saint-Hilaire นักทฤษฎีเพื่อนร่วมงานของลามาร์ค) ได้พัฒนาทฤษฎีวิวัฒนาการของลามาร์คให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การทดลองของเขาได้นำไปสู่ผลที่แม่นยำยิ่งขึ้นและเขาได้ค้นพบกฎแห่งการกลายพันธุ์ หลังจากที่เขาได้สืบค้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ (human species) และเปิดเผยให้เห็นถึงการวิวัฒนาการ เขาก็ทำให้ผู้คนในโลกตาสว่าง                                                  
  

Germany , Japan , Thailand , Belarus , China , France , Greece , London , City-of , United-kingdom , Greek , French

เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่ยี่สิบ): "สามขี้เมาคุยการเมือง"

เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่ยี่สิบ): "สามขี้เมาคุยการเมือง"
posttoday.com - get the latest breaking news, showbiz & celebrity photos, sport news & rumours, viral videos and top stories from posttoday.com Daily Mail and Mail on Sunday newspapers.

Germany , Japan , Thailand , United-kingdom , Belarus , China , Vienna , Wien , Austria , Ireland , Russia , Toronto

เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย(ตอนที่สิบเก้า):"สามขี้เมาคุยการเมือง"


เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย(ตอนที่สิบเก้า):“สามขี้เมาคุยการเมือง”
วันที่ 12 ก.ค. 2564 เวลา 10:20 น.
นวนิยายเรื่อง
“สามขี้เมาคุยการเมือง” หรือ A Discourse by Three Drunkards on Government เป็นผลงานของนากาเอะ โชมิน ส.ส. พรรคเสรีนิยมของญี่ปุ่น ปรากฏสู่สายตาคนญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2430 ก่อนหน้าที่จะมีรัฐธรรมนูญสองปี และก่อนที่จะมีการเลือกตั้งครั้งแรกสามปี  และต่อมาองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) คัดเลือกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมยิ่งใหญ่ของโลก
ตัวละครสามขี้เมาในเรื่อง ได้แก่ อาจารย์นันไค (Nankai ที่แปลว่า ทะลใต้) เจ้าบ้านที่เป็นคนรักการร่ำสุราพอๆกับรักบทสนทนาทางการเมือง สองอีกสองคนเป็นแขกแปลกหน้าที่ถูกอาจารย์นันไคตั้งชื่อให้ว่า
“สุภาพบุรุษ (ตะวันตก)” และ
“นักสู้ (ซามูไร)"
หลังจากชนแก้วจนได้ที่  
“สุภาพบุรุษ” ผู้ชื่นชมในแนวคิดเสรีนิยมของโลกตะวันตกก็ได้เปิดฉากการสนทนา โดยชี้ให้เห็นหลักการอันประเสริฐทั้งสามของเสรีนิยมอันได้แก่ เสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ที่ประกอบกันเป็นระบอบการปกครองเสรีประชาธิปไตย แต่ประเทศตะวันตกที่อวดอ้างว่าสมาทานแนวคิดและรูปแบบการปกครองนี้ ก็หาได้จริงจังกับแนวคิดนี้อย่างแท้จริง เพราะยังทำตัวเป็นผู้รุกราน กระหายสงครามและปฏิบัติต่อชาติอื่นๆที่อ่อนแอกว่าอย่างไม่เท่าเทียมกัน เพราะหากเป็นเสรีนิยมที่แท้แล้ว จะต้องยกเลิกกองทัพ และเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า  ด้วยเหตุนี้ เขาจึงอยากให้ญี่ปุ่นในฐานะที่เป็นประเทศเล็กๆที่อ่อนแอและล้าหลังรีบปฏิรูปตัวเองโดยการรับแนวคิดเสรีนิยม และยกเลิกการทำสงคราม และหันมาพัฒนาประเทศด้วยการอุตสาหกรรมและการค้า และถ้าหากชาติตะวันตกมารุกราน แทนที่จะไปต่อสู้ ก็ใช้วิธีการอารยะ คือต้อนรับอย่างสุภาพ  เพราะสู้ไปก็มีแต่จะพ่ายแพ้ สู้หันมาสงบนิ่งเฉย แล้วดูว่า นานาประเทศจะว่าอย่างไรกับการรุกรานอันป่าเถื่อนของชาติตะวันตกที่อวดอ้างว่าศิวิไลซ์แล้ว
ที่สำคัญคือ เขาเชื่อในวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์มนุษยชาติว่าจะเดินหน้าเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ระบอบการเมืองการปกครองก็เช่นเดียวกัน  ดังนั้น เมื่อรู้เช่นนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดวิกฤตแล้วค่อยเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะเข้าข่ายกว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ การปฏิวัติทางการเมืองที่รุนแรงเสียเลือดเนื้อจึงไม่จำเป็นหากชนชั้นนำมีวิสัยทัศน์เข้าใจถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก ก็จะทำการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปเสียแต่เนิ่นๆ การปฏิวัติใหญ่อย่างที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ และทิศทางอนาคตของญี่ปุ่นก็อยู่บนเส้นทางเดียวกันกับชาติต่างๆในโลก ดังนั้น ญี่ปุ่นควรรีบปฏิรูปเสียก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิวัติ  กษัตริย์ที่ยอมสละอำนาจของพระองค์โดยสมัครใจ จะทำให้คนรุ่นหลังจดจำพระองค์ในฐานะที่เป็นกษัตริย์ที่ตื่นรู้และทรงภูมิปัญญา (the Enlightened King)
อังกฤษเป็นประเทศแรกๆที่เข้าสู่การปฏิวัติสมัยใหม่ และต้องผ่านการนองเลือดในสงครามกลางเมือง พระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งต้องถูกพิพากษาสำเร็จโทษ และต่อมาอังกฤษจึงได้มีการปรับตัวครั้งใหญ่ แต่
“สุภาพบุรุษ” เห็นว่า เราอาจจะกล่าวโทษชนชั้นนำอังกฤษเสียทีเดียวก็ไม่ถูก เพราะอังกฤษไม่มีตัวอย่างประวัติศาสตร์ให้เรียนรู้ เขาเลยเป็นประเทศนำร่องที่ต้องผ่านการสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่
แต่สำหรับฝรั่งเศสนั้น น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ต้องเข้าสู่การปฏิวัติครั้งใหญ่ที่สูญเสียยิ่งกว่าของอังกฤษ
“สุภาพบุรุษ” ได้กล่าวว่า
“ข้าพเจ้าขอเสริมว่า ถ้าฝรั่งเศสไม่มีสงครามกลางเมืองอังกฤษให้เป็นบทเรียน ก็ไม่มีใครจะสามารถวิพากษ์วิจารณ์ตำหนิชนชั้นนำทางการเมืองของฝรั่งเศสได้ และประเด็นที่กล่าวมาของข้าพเจ้าก็จะดูจะเป็นเรื่องห่างไกลเกินและเป็นข้อวิจารณ์ที่รุนแรงเกินไป แต่ความจริงมันชัดเจนว่า ทั้งๆที่ฝรั่งเศสรับรู้เกี่ยวกับสงครามกลางเมืองของอังกฤษ แต่กลับไม่สนใจ  ไม่ต่างจากรถไฟ ที่หัวขบวนพังไปแล้ว แต่ขบวนต่อมายังเดินหน้าต่อไปอย่างไม่สนใจว่าอะไรเกิดขึ้นกับหัวขบวน ชนชั้นปกครองฝรั่งเศสก็เช่นกัน ไม่สนใจที่จะปฏิรูป แต่กลับเดินหน้าต่อไป ดูคล้ายจะจงใจทิ้งความหายนะให้แก่คนรุ่นต่อมา พวกเขาไม่ต่างจากผีปีศาจที่ขวางทางเทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการ พวกเขาคืออาชญากรที่กักขังหน่วงเหนี่ยวพระเจ้าหลุยส์ กษัตริย์ฝรั่งเศส ”
พูดถึง
“สุภาพบุรุษ” ได้เปรียบเทียบนักการเมืองเสมือน
“พระหรือนักบวชที่ทำงานรับใช้เทพแห่งวิวัฒนาการ”  นักการเมืองหรือนักบวชนี้จึงต้องเป็นผู้ผลักดันให้การเมืองในประเทศของตนเดินบนเส้นทางแห่งวิวัฒนาการที่ถูกกำหนดโดยเทพเบื้องบน โดยการปฏิรูปบ้านเมืองเสียแต่เนิ่นๆผ่านวิสัยทัศน์แห่งอนาคตที่พวกตนได้รับมาจากเทพเจ้า ดังนั้น นักการเมืองที่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง แทนที่จะเป็นนักบวช แต่กลับจะเป็นปีศาจที่เป็นศัตรูของเทพเจ้า
และการที่
“สุภาพบุรุษ” เปรียบนักการเมืองปีศาจว่าเป็นเหมือนอาชญากรที่กักขังหน่วงเหนี่ยวกษัตริย์ไว้ไม่ให้เดินเข้าสู่เส้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลง ทำให้ผมนึกถึงข้อเขียนเรื่อง
“คำตอบต่อคำถามที่ว่า อะไรคือการรู้แจ้ง (the Enlightenment) ?” ที่เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2327 เป็นเวลาเกือบ 100 ปีก่อนหน้าที่โชมินจะแต่งเรื่อง
“สามขี้เมาฯ”นี้ ข้อเขียนดังกล่าวนี้เป็นของนักปรัชญาชาวเยอรมันที่ชื่อ อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) ที่โชมินก็กล่าวถึงไว้ในนวนิยายเรื่องนี้ด้วย สาเหตุที่ผมนึกถึงข้อเขียนดังกล่าวของคานท์ก็เพราะมีข้อความหนึ่งของคานท์กล่าวว่า
“ใครก็ตามที่ปิดกั้นขัดขวางการใช้เสรีภาพทางความคิดของมนุษย์ ถือว่าเป็นการก่ออาชญากรรมต่อความเป็นมนุษย์” ฟังดูแล้ว น่าจะมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันระหว่างการ เปรียบนักการเมืองปีศาจกับอาชญากรกับข้อความดังกล่าวของคานท์
“สุภาพบุรุษ” ได้กล่าวมาพอสมควร เขาก็หันมายกแก้วขึ้นดื่มและกล่าวต่อไปว่า
“รถม้าที่เปรียบเสมือนสายน้ำที่กำลังไหล และม้าที่ประดุจมังกรที่กำลังแหวกว่ายไปตามถนนสายหลักของเมือง นำพาบุรุษผู้สวมสูททันสมัยและหมวกทรงสูงแบบฝรั่งให้ร่อนเฉิดฉายฝ่าฝูงชนราวกับเขากำลังโบยบิน โดยมิพักหันมามองสองข้างทาง บุรุษผู้นี้หรือที่เป็นนายกรัฐมนตรีที่สามารถในการบริหารและจะปกครองประชาชน ผู้ซึ่งจะทำหน้าที่สนับสนุนช่วยเหลือองค์จักรพรรดิในราชสำนัก ? หรือเขาคือบุรุษผู้มีธรรมชาติอันฉลาดแหลมที่สามารถหยั่งรู้เรื่องราวทั้งหมดแม้เห็นเพียงแค่เพียงเศษเสี้ยว ซื้อมาด้วยราคาถูกและขายได้ราคาอันสูงลิ่ว และจึงกลายเป็นมหาเศรษฐี ? หรือเขาคืออัจฉิรยะที่หายากที่มีความเป็นเลิศในทางอักษรศาสตร์และวิชาการที่สามารถนำเซอร์วานเตส (Cervantes นักเขียนเรืองนามชาวสเปน เจ้าของนวนิยายอมตะเรื่อง ดอน ฆีโฮเต้) และปาสกาล (Pascal ปราชย์ชาวฝรั่งเศสผู้เป็นเลิศในการใช้เหตุผลและมีวาทะอันแหลมคม) มารับใช้เขาได้ ?
แต่เปล่า บุรุษผู้นั้นไม่ได้เป็นอะไรสักอย่างที่กล่าวมา แต่เขามาจากตระกูลเก่าแก่ที่ครั้งหนึ่งบรรพบุรุษต้นตระกูลของเขาสามารถพิชิตข้าศึกได้และสังหารแม่ทัพฝ่ายนั้นได้ และด้วยความกล้าหาญของเขา บรรพบุรุษนั้นจึงได้รับพระราชทานตำแหน่งขุนนางและศักดินาที่ดิน และต่อมา ครอบครัวของเขายังคงไว้ซึ่งชื่อเสียงและความรุ่งเรืองจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าลูกหลานของขาจะไม่ได้อัจฉริยะหรือมีความรู้ แต่ก็คงได้รับเงินค่าใช้จ่ายอย่างมากมายโดยไม่ต้องทำงานอะไร ต้องขอบคุณกระดูกของเหล่าบรรพบุรุษของเขาที่ยังคงส่องประกายจากหลุมศพ เขาดื่มเหล้าชั้นดี กินเนื้อชั้นเลิศ และใช้เวลาไปวันๆอย่างสบายๆ เขาคือหนึ่งในบรรดาคนพิเศษที่เรียกว่า อภิชน  ตราบใดที่คนเหล่านี้ยังดำรงอยู่ในชาติใด ไม่ว่าจะมีจำนวนเป็นร้อยหรือไม่ถึงร้อย แม้ว่าชาตินั้นจะมีรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญ และพลเมืองนับล้านจะรับเสรีภาพ แต่เสรีภาพนั้นก็หาใช่เสรีภาพที่แท้จริงไม่ เพราะหลักการความเสมอภาคอันยิ่งใหญ่ยังไม่ถูกใช้อย่างสมบูรณ์ได้จริง เรา ประชาชนคนธรรมดา ต้องทำงานหนักตั้งแต่เช้ายันค่ำและต้องเสียภาษีจากส่วนหนึ่งของเงินที่เราหามาได้  การจ่ายภาษีเป็นเรื่องจำเป็น แต่ถ้าภาษีของเราไม่ได้ถูกนำไปใช้เป็นเงินเดือนข้าราชการที่เราไว้วางใจให้บริหารประเทศ แต่ต้องถูกนำไปให้บรรดาอภิชนเหล่านี้ที่ไม่ได้ทำงานอะไร ถ้าเป็นเช่นนี้ เรายังไม่มีเสรีภาพที่แท้จริง กษัตริย์และอภิชนมีสมองที่ใหญ่และหนักกว่าเราหรือ ? พวกเขามีน้ำย่อยและเม็ดเลือดมากกว่าเราหรือ ?  
   นายแพทย์กอลล์
ถ้าเราให้ นายแพทย์กอลล์ (ฟรานซ์ โยเซฟ กัลล์ [ค.ศ. 1758-1828] นายแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทกายวิภาคศาสตร์ [neuroanatomy] และจิตวิทยา ทฤษฎีของเขาเป็นที่รู้จักและถกเถียงกันทั่วไปในยุโรปศตวรรษที่สิบแปดและสิบเก้า) ตรวจสมองของพวกเขา มันจะแตกต่างจากของเราไหม ? แต่ถ้าสมมุมติว่ามันแตกกต่าง ความแตกต่างที่ว่านี้มันจะเป็นประโยชน์แก่พวกเขาหรือแก่พวกเรา ?.....”
แม้ว่า
“สุภาพบุรุษ” จะยังพูดไม่จบ  แต่ฟังมาแค่นี้ ก็น่าจะเป็นความคิดที่รุนแรงสำหรับพวกอนุรักษ์นิยมในญี่ปุ่นไม่น้อยเลยทีเดียว แม้ว่างานเขียนทางการเมืองของโชมินจะไม่ได้ออกอาการล้มเจ้าอย่างชัดเจนตามที่รัฐบาลเมจิตั้งข้อสงสัย  แต่ดูเหมือนว่าเขาเอาความคิดล้มเจ้าหลบมาเขียนในนวนิยายเรื่องนี้นี่เอง
กระนั้นก็ไม่ควรด่วนสรุปว่าสิ่งที่
“สุภาพบุรุษ” พูดออกมานั้นเป็นความเห็นความเชื่อของตัวโชมินเองทั้งหมด  เพราะโชมินยังมีตัวละครอีกสองตัว นั่นคือ อาจารย์นันไคและ “นักสู้” เราต้องดูต่อไปว่า สองคนนี้จะว่าอย่างไร ?
         

Germany , Japan , United-kingdom , Belarus , China , Austria , San-antonio , Texas , United-states , Ireland , Russia , Spain

เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่สิบแปด): "สามขี้เมาคุยการเมือง"


เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่สิบแปด): “สามขี้เมาคุยการเมือง”
วันที่ 05 ก.ค. 2564 เวลา 11:19 น.
นวนิยาย
“สามขี้เมาคุยการเมือง” หรือ A Discourse by Three Drunkards on Government เป็นผลงานของนากาเอะ โชมิน ส.ส. พรรคเสรีนิยมของญี่ปุ่นเมื่อร้อยกว่าปีก่อน  นวนิยายเรื่องนี้มีดีถึงขนาดองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) คัดเลือกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมยิ่งใหญ่ของโลก
ตัวละครขี้เมาสามคนในเรื่องคือ อาจารย์นันไคที่รักในการดื่มสุราและคุยเรื่องการเมืองเป็นชีวิตจิตใจ และแขกแปลกหน้าสองคนที่มาหาอาจารย์ที่บ้านเพื่อหวังจะได้มีบทสนทนาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของญี่ปุ่น อาจารย์นันไคไม่รู้จักสองคนนี่มาก่อน และก็ไม่สนใจที่จะถามชื่อเสียงเรียงนาม แต่กลับตั้งชื่อให้เองเลย คนแรกถูกตั้งชื่อว่า
“สุภาพบุรุษ (ตะวันตก)” เพราะเขาเป็นคนญี่ปุ่นที่แต่งตัวตามแบบฝรั่ง ส่วนอีกคนหนึ่งได้ชื่อว่า
“นักสู้” เพราะแต่งชุดฮะกะมะตามประเพณีของญี่ปุ่นและออกแนวบู๊แบบซามูไร
คราวที่แล้ว
“สุภาพบุรุษ” ได้เปิดฉากการสนทนาโดยวิพากษ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และชื่นชมระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเสรีนิยมประชาธิปไตย  เนื้อหาที่เขากล่าวออกมานั้นแสดงให้เห็นว่าเขาเข้าใจในหลักเสรีนิยมประชาธิปไตยเป็นอย่างดี และเขาได้ตบหน้าชาติตะวันตกอย่างแรงจากการวิจารณ์ว่า ชาติตะวันตกที่อวดอ้างว่าเป็นเสรีประชาธิปไตย แต่ในทางปฏิบัติกลับย้อนแย้งในตัวเอง เพราะถ้าเป็นเสรีประชาธิปไตยจริงๆแล้ว ควรยกเลิกการมีกองทัพ และเปลี่ยนการรบให้เป็นการค้า  แต่ชาติตะวันตกกลับรบราฆ่าฟันกันเอง แถมยังมารุกรานประเทศในเอเชียอีกด้วย 
“สุภาพบุรุษ” เสนอว่า ญี่ปุ่นควรต้องรีบเปลี่ยนแปลงให้เป็นเสรีประชาธิปไตยที่แท้จริง และยกเลิกกองกำลัง หันมาทำการค้าการอุตสาหกรรม และหากชาติตะวันตกมารุกราน ญี่ปุ่นก็ไม่ควรจะต้องไปจับอาวุธสู้ แต่ควรต้อนรับชาติตะวันตกอย่างสุภาพ  หากพวกตะวันตกใช้กำลัง แต่ญี่ปุ่นไม่สู้ซะอย่าง ชาติตะวันตกก็ไม่ต่างจากแกว่งดาบในอากาศธาตุ  ไม่มีประโยชน์อันใดทั้งสิ้น      
------------------
ฟังมาแค่นี้ ท่านผู้อ่านน่าจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มนะครับ กลุ่มแรกคงเห็นว่า ความคิดทางการเมืองของ
“สุภาพบุรุษ” นั้นฟังดูดี แต่ช่างอุดมคติเหลือเกินเหมือนเดินเล่นอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็คงจะชื่นชมและตาม
“สุภาพบุรุษ” เข้าไปเดินเล่นในทุ่งลาเวนเดอร์ด้วย
ก่อนจะตัดสินอะไร เราควรต้องฟังแกสาธยายต่อ    
-------------------------
“สุภาพบุรุษ” กล่าวต่อไปว่า การที่ประเทศเล็กๆและไม่มีอำนาจ (ญี่ปุ่นขณะนั้น) ใช้กำลังต่อกรกับมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ มันก็จะไม่ต่างจากการปาไข่ไปบนหิน ไข่มันต้องแตก แต่หินมันไม่มีทางเป็นอะไรได้เลย และจากการที่คู่ต่อสู้ (ชาติตะวันตก) มีความทระนงอย่างยิ่งในอารยธรรมของตน พวกเขาจึงไม่น่าจะไร้ซึ่งหลักศีลธรรมที่เป็นแก่นแกนของอารยธรรมของพวกเขาเอง ทำไมชาติเล็กๆอย่างเราไม่ใช้หลักศีลธรรมเป็นอาวุธ  โดยหลักศีลธรรมที่ว่านี้เป็นสิ่งที่คู่ต่อสู้ของเราคาดหวังที่จะเป็น แต่ไม่สามารถทำได้?
ถ้าเราเอาหลักเสรีภาพต่างกองทัพ เอาความเสมอภาคต่างป้อมปราการ เอาภราดรภาพต่างดาบและปืนใหญ่ ใครในโลกจะกล้าโจมตีเรา ?   กลับกัน ถ้าเราจะอิงอยู่แต่เฉพาะป้อมปราการ ดาบ ปืนใหญ่ กองกำลังทหาร ที่ศัตรูของเราเราก็ใช้ และผลที่จะเกิดขึ้นก็คือ คนที่แข็งแรงมีแสนยานุภาพมากกว่าก็จะชนะ มันเป็นตรรกะทางคณิตศาสตร์ที่ไม่มีใครจะเถียงได้
แล้วทำไมเราจึงจะไม่ยอมรับการใช้เหตุผลที่มันชัดเจนแจ่มแจ้งในตัวมันเองอยู่แล้ว ถ้าศัตรูของเราใช้กำลังรุกรานและยึดครองประเทศของเรา แผ่นดินนี้จะต้องแบ่งกัน เพราะทั้งเขาและเราก็ต่างยีงมีชีวิตอยู่  มันจะมีความขัดแย้งแบบไหนเกิดขึ้น ? สมมุติว่า พวกเขายึดเอาไร่นาหรือบ้านของพวกเราไป หรือกดขี่ขูดรีดด้วยการเก็บภาษีอย่างหนักจากเรา คนที่มีปัญญาจ่ายก็ทนได้ แต่คนที่ไม่มีก็จะหาวิธีการตอบโต้ เพราะวันนี้ เราอาศัยอยู่ในประเทศ A และเราก็เป็นคนสัญชาติประเทศ A อย่างไรก็ตาม ถ้าพรุ่งนี้ เราอาศัยอยู่ในประเทศ B และเราก็จะเป็นคนสัญชาติประเทศ B  มันไม่มีอะไรซับซ้อน ตราบเท่าที่โลกยังอยู่ และโลกยังไม่ใช่บ้านสำหรับมนุษยชาติ ไม่ใช่ว่าทุกๆประเทศในโลกเป็นบ้านของเราหรือ ?
----------------------- 
คำกล่าวของคุณสุภาพบุรุษที่ว่า
“วันนี้ เราอยู่ประเทศ A เราก็มีสัญชาติ A  แต่หากพรุ่งนี้ เราอยู่ประเทศ B เราก็เป็นคนสัญชาติ B”  เขาต้องการสื่อว่า เรื่องประเทศชาติ หรือสัญชาตินั้นเป็นสิ่งสมมุติ อย่าไปยึดติดมาก ชาติและสัญชาติไม่สำคัญเท่ากับเสรีภาพและความเสมอภาคที่มนุษย์มีโดยธรรมชาติ และเมื่อมนุษย์ทุกคนมี ทุกคนจึงมีสายสัมพันธ์ร่วมกันหรือมีภราดรภาพนั่นเอง และจริงๆแล้ว โลกทั้งใบนี้น่าจะเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองสำหรับมนุษย์ทุกคน  โดยไม่ต้องมีการแบ่งแยกเป็นประเทศเป็นชาติ และนิยมชาติหรือชาตินิยม  
---------- 
สุภาพบุรุษกล่าวต่อไปว่า จริงๆแล้ว ศัตรูของเราไม่มีความสุภาพอ่อนน้อม แต่เรามี  พวกเขาขัดแย้งกับหลักเหตุผล แต่เรายืนหยัดด้วยหลักเหตุผล สิ่งที่พวกเขาเรียกว่าอารยธรรม ก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากความป่าเถื่อน แต่สิ่งที่พวกเขาเรียกเราว่าป่าเถื่อน จริงๆแล้วมันคือแก่นแท้แห่งอารยธรรม หากพวกเขาโกรธและใช้ความรุนแรงตามอำเภอใจ พวกเขาจะทำอะไรได้ ถ้าเรายิ้มและยึดมั่นใน
“วิถีแห่งความเป็นมนุษย์” 
เพลโต เม่งจื่อ สเปนเซอร์ (Herbert Spencer นักทฤษฎีวิวัฒนาการ) มาลบรานฌ์ (Nicolas Malebranche นักปรัชญาที่ให้ความสำคัญกับการใช้เหตุผล) อริสโตเติลหรือวิคเตอร์ ฮูโก้จะมองเราอย่างไร ? และทั้งโลกที่กำลังเฝ้าเราดูอยู่จะว่าอย่างไร ? เราไม่ควรต้องสนใจว่าปรากฎการณ์แบบนี้จะเคยหรือไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนการเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่  แต่มันดูประหลาดมาก ที่ไม่มีใครเคยลองทำมาตั้งแต่ครั้งนั้น  ทำไมเราไม่เริ่มทำให้เป็นตัวอย่าง ? สรุปคือ ความคิดในการทำสงครามเพื่อปกป้องชาติคือความโง่เขลาอย่างถึงที่สุด !
ยังไม่ทันที่
“สุภาพบุรุษ” จะพูดจบ
“นักสู้” ก็ได้กล่าวขึ้นมาว่า ท่านเสียสติไปแล้วหรือ ? ท่านบ้าไปแล้ว  มันวิปลาสมากที่ประเทศที่ประกอบไปด้วยคนที่แข็งแรงนับล้านๆเลือกที่จะไม่ลุกขึ้นสู่ เลือกที่จะไม่ชักดาบออกจากฝักหรือไม่ยิงแม้แต่กระสุนนัดเดียว แต่กลับปล่อยให้ผู้รุกรานปล้นประเทศของเรา ดีที่ข้าฯยังไม่บ้า อาจารย์นันไคก็ไม่บ้า และพี่น้องร่วมชาติเราก็ไม่บ้า เป็นไปไม่ได้ที่พวกเราจะเห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านได้กล่าวไป
แต่ก่อนที่
“นักสู้” จะพูดต่อไป อาจารย์นันไคก็ยิ้มและขัดขึ้นมาว่า เดี๋ยวก่อน รอแป๊บหนึ่ง ท่านนักสู้ ขอให้
‘คุณสุภาพบุรุษ’ พูดให้เสร็จก่อนเถิด ‘นักสู้’ ยิ้มเช่นเดียวกันและน้อมรับคำขอของอาจารย์นันไค คุณสุภาพบุรุษจึงได้กล่าวต่อไปว่า อันที่จริง บรรดาผู้คิดว่าตัวเองเป็นนักการเมืองนั้น แท้จริงแล้ว พวกเขาคือ นักนักบวชที่รับใช้เทพเจ้าแห่งการเปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเขาไม่ควรเพียงแต่ให้ความสนใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า แต่ควรต้องคิดให้ดีถึงอนาคต  นั่นคือ เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการชอบที่ก้าวไปข้างหน้ามากกว่าจะถอยหลัง และถ้าเส้นทางการไปสู่อนาคตมันราบรื่น สดใส มันก็ดี ต่แม้นว่า มันจะเต็มไปด้วยอุปสรรคแสนยากแค้นเพียงไร แต่เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการก็ย่อมไม่ท้อถอย พระองค์ไม่สะทกสะท้าน และจะปลุกเร้าตัวเองให้ก้าวต่อไปข้างหน้า และต่อสู้กับอุปสรรคขวากหนามทั้งหลาย พระองค์จะไม่วิตกกลัวเกรงเมื่อบรรดาคนผู้ไร้เหตุผลจะต่อสู้ห้ำหั่นกันเอง อันทำให้เกิดภาพแห่งความโกลาหลของการปฏิวัตินองเลือด  เพราะพระองค์เห็นว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นสาเหตุตามธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ดังนั้น บรรดานักการเมืองที่ประดุจได้ดั่งนักบวชที่อุทิศตัวเองให้เทพเจ้าก็จะยืนหยัดที่จะต่อสู้กับอุปสรรคขวากหนามและกำจัดสาเหตุใดๆที่ขัดต่อพระประสงค์ของเทพเจ้า และนี่คือหน้าที่อันสำคัญยิ่งของนักบวชแห่งการวิวัฒนาการ ระบบอะไรเล่าที่ขัดขวางหลักการแห่งความเสมอภาค ?  และระบบอะไรที่ขัดขวางและทำลายหลักการอันยิ่งใหญ่แห่งเสรีภาพ ?
ถ้านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เป็นรัฐบาลในสมัยพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งของอังกฤษหรือพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ของฝรั่งเศสเปิดตาเปิดใจตัวเอง และถ้าพวกเขาสามารถรับรู้แนวโน้มแห่งกาลเวลาได้อย่างรวดเร็ว คาดการณ์ถึงอนาคตของประวัติศาสตร์ และมีปัญญาที่จะแผ้วทางให้เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการ พวกเขาก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดกลียุคได้ (กลียุคที่ว่านี้ คือ สงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งและฝ่ายรัฐสภาในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1642-1649  ที่ลงเอยด้วยการพ่ายแพ้ของฝ่ายกษัตริย์และพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งถูกพิพากษาสำเร็จโทษด้วยการบั่นพระเศียร ---  ส่วนในกรณีของฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหก ได้เกิดการปฏิวัติที่ตามมาด้วยยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัว และพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหกถูกพิพากษาสำเร็จโทษบั่นพระเศียรด้วยเครื่องกิโยติน)                                                                                          
         ชาร์ลสที่หนึ่ง
อย่างไรก็ตาม อังกฤษไม่เคยมีตัวแบบให้เรียนรู้มาก่อนหน้านั้น อังกฤษเป็นชาติแรกที่จะต้องผ่านประสบการณ์อันเลวร้าย และด้วยเหตุนี้ จึงสมควรที่จะได้รับความเห็นใจในความล้มเหลวของรัฐบุรุษอังกฤษในการที่จะหามาตรการจำเป็นที่จะทำให้ไม่เกิดความหายนะ อังกฤษสมควรได้รับความเห็นใจในความสูญเสียที่เกิดขึ้น
ตรงกันข้าม ฝรั่งเศสไม่สามารถมีข้อแก้ตัวได้ เพราะฝรั่งเศสได้รับรู้ความหายนะอันน่าสะพรึงกลัวของอังกฤษที่เกิดขึ้นก่อนหน้าการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นเวลานานนับศตวรรษ แต่ฝรั่งเศสก็ไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจากประสบการณ์ของอังกฤษ แต่กลับยังมีจิตใจคับแคบ และนโยบายต่างๆที่ออกมาก็เป็นนโยบายที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่สูญเปล่า ในขณะที่อาการของกลียุคมันปรากฎให้เห็นชัดๆ  แต่ฝรั่งเศสก็กลับกลบเกลื่อนความเจ็บไข้ของตนและไม่พยายามที่จะหานายแพทย์ที่เชี่ยวชาญ การลังเลทำให้เกิดข้อสงสัยในหมู่ประชาชนคนธรรมดา และการกระทำและคำพูดที่ยั่วยุก็ได้ไปปลุกอารมณ์ความไม่พอใจของผู้คน  ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เกิดความหายนะอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เลือดท่วมแผ่นดิน ประเทศทั้งประเทศได้กลายเป็นโรงฆ่าสัตย์  จะโทษใครเล่า ? เทพเจ้าแห่งวิวัฒนาการ ? หรือนักบวชแห่งศาสนาแห่งวิวัฒนาการ ?
      หลุยส์ที่สิบหก
เมื่อตอนที่พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่เป็นกษัตริย์หรือในช่วงต้นรัชสมัยของหลุยส์ที่สิบห้า  ถ้านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสามารถที่จะมองไปในอนาคตข้างหน้าได้ไกลๆหลายทศวรรษหรือศตวรรษและพากันร่วมไม้ร่วมมือในการค่อยๆขจัดประเพณีอันเลวร้ายที่สืบเนื่องมายาวนาน และแทนที่ด้วยโครงการใหม่ๆที่ดี ฝรั่งเศสน่าก็จะต้องการเพียงแค่การก้าวไปเพียงทีละก้าวในการรับประชาธิปไตยและความเสมอภาคในช่วงปลายรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ (โดยไม่ต้องมีการปฏิวัติที่เป็นการก้าวกระโดดและเกิดความรุนแรงและเสียหายมากมาย)
พระองค์ก็จะไปรัฐสภาด้วยอาการที่สุขุมสงบนิ่ง ถอดมงกุฎและพระแสงดาบของพระองค์ และต้อนรับโรเบสปิแอร์และคนอื่นๆด้วยรอยยิ้มบนพระพักตร์อันสงบสุขุมและกล่าวว่า
“ท่านสุภาพบุรุษทั้งหลาย มีภารกิจตรงหน้าของพวกเรา ข้าพเจ้าได้กลายเป็นสามัญชนและจะทำเพื่อประเทศของเรา” จากนั้นพระองคและพระบรมวงศานุวงศ์จะทรงเลือกที่ที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม ซื้อที่ดินแปลงใหญ่เพื่อทำการเกษตรและมีชีวิตที่พอสุขสบาย และพระองค์จะทรงสามารถทำให้คนรุ่นหลังจดจำพระองค์ในฐานะกษัตริย์ที่สละอำนาจอย่างงดงามและมีเกียรติศักดิ์ศรี
นวนิยายเรื่องนี้ปรากฏสู่สายตาคนญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2430 ก่อนหน้าที่จะมีรัฐธรรมนูญสองปี และก่อนที่จะมีการเลือกตั้งครั้งแรกสามปี
จะเห็นได้ว่า ความคิดทางการเมืองของ
“สุภาพบุรุษ” เป็นแนวคิดที่เชื่อในกฎวิวัฒนาการ ที่เห็นว่า อย่างไรเสีย โลกมนุษย์ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลงนี้นำไปสู่ความก้าวหน้าของมนุษยชาติ  เสรีภาพและความเสมอภาคคือเป้าหมายสำคัญของการเปลี่ยนแปลง  ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถยืนหยัดฝืนกฎวิวัฒนาการได้ การเมืองการปกครองของทุกประเทศย่อมจะต้องก้าวไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ผู้คนมีเสรีภาพและความเสมอภาค
ดังนั้น ถ้าตระหนักรู้และเข้าใจในกฎวิวัฒนาการนี้ แทนที่จะฝืนรอให้สถานการณ์สุกงอมจนเกินไป  ผู้มีอำนาจทางการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ก็จะรู้จักที่จะปรับเปลี่ยนพาตัวเองและสังคมก้าวไปสู่การเป็นสังคมเสรีประชาธิปไตยเสียแต่เนิ่นๆและอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการเปลี่ยนแปลงอย่างฉบับพลันที่เกิดจากการใช้กำลังความรุนแรงก็ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น  บทเรียนมีมาแล้วในอดีต เราไม่จำต้องให้เกิดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น
ข่าวที่เกี่ยวข้องในอดีต

China , Japan , Roma , Lazio , Italy , United-kingdom , Spain , France , Belarus , Japanese , British , Chai-providence

เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่สิบเจ็ด): "สามขี้เมาคุยการเมือง"


เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่สิบเจ็ด): “สามขี้เมาคุยการเมือง”
วันที่ 28 มิ.ย. 2564 เวลา 12:54 น.
********************
โชมินเป็นนักการเมืองสังกัดพรรคเสรีนิยมของญี่ปุ่น ช่วงเวลาเดียวกันกับสมัยรัชกาลที่ห้าของเรา นอกจากเขาจะเป็นนักการเมืองแล้ว เขายังเป็นนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ด้วย  หนึ่งในงานเขียนแนวนวนิยายความคิดทางการเมืองของเขาคือ A Discourse by Three Drunkards on Government หรือที่ผมตั้งชื่อไทยให้ว่า
“สามขี้เมาคุยการเมือง”  นิยายเล่มนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมยิ่งใหญ่ของโลกโดยองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
คนเมาสามคนที่ว่านี้ หนึ่งในนั้นคือ อาจารย์นันไคที่ผมได้บรรยายคุณลักษณะไปในตอนที่แล้วว่าเป็นคนรักการดื่มเป็นชีวิตจิตใจและชอบคุยเรื่องการเมือง และยิ่งตอนเมา ความคิดของแกจะบรรเจิดมาก จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว ใครที่อยากคุยการเมืองหรือฟังอะไรแปลกๆ ก็จะมาตั้งวงกินเหล้ากับแก
จนวันหนึ่ง มีชายแปลกหน้าสองคนมาหาแกที่บ้านพร้อมกับหิ้วบรั่นดีนอก (ฝรั่ง) มา แม้ว่าอาจารย์นันไคจะไม่เคยรู้จักสองคนนี้มาก่อนเลย แต่แขกแปลกหน้ามาบ้านไม่เป็นไร ขอให้มีเหล้าติดไม้ติดมือมาก็เป็นใชได้  ยิ่งสองคนนั้นหิ้วบรั่นดีตราขวานทองมาด้วย
เมื่ออาจารย์นันไคกล่าวต้อนรับแขกแปลกหน้าพอเป็นพิธี บรั่นดีตราขวานทองก็ถูกรินแจก ทั้งเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือนต่างก็ยกแก้วขึ้นชนสลับกันไปมาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างกัน
หลังจากชนแก้วกันไปมาสักพักตามธรรมเนียมการกินเหล้าแบบญี่ปุ่น  อาจารย์นันไคก็เริ่มรู้สึกผ่อนคลาย เขาไม่สนใจแม้แต่จะถามชื่อเสียงเรียงนามของแขกแปลกหน้า แต่กลับตั้งชื่อให้สองคนนั้นเอง โดยแขกที่แต่งตัวออกแนวยุโรป อาจารย์เรียกเขาว่า
“สุภาพบุรุษ”
เข้าใจว่า น่าจะคล้ายกับที่บ้านเราชอบเรียกคนไทยที่จบจากอังกฤษมาว่า
“ผู้ดีอังกฤษ”  ที่มักจะมีท่าทางและการแต่งตัวหรือเครื่องเสริมบุคลิกภาพแบบอังกฤษ เช่น ถือร่มบ้างหรือวิธีการใช้คำพูดคำจา
จำได้ว่า ตอนที่ผมกลับมาเมืองไทยเพื่อมาเยี่ยมครอบครัว ตอนนั้นหน้าฝนพอดี ผมไปจุฬาฯและถือร่มไปด้วย เป็นร่มคันยาวๆที่ใช้เป็นไม้เท้าไปในตัวได้  คนที่พบเห็นก็มักจะบอกว่า “อ้อ ผู้ดีอังกฤษเลยนะ !”
คำว่า
“ผู้ดีอังกฤษ” นี่ ผมว่าน่าจะมีหลายความหมายนะครับ เพราะผู้ดีที่เป็นอภิชนชนชั้นสูงร่ำรวย คนเหล่านี้มักจะไม่ถือร่มหรือถืออะไรเลย เพราะจะนั่งรถมีคนขับ แล้วลงรถเข้าตึกไปทันที หรือถ้าเกิดฝนตก ก็จะมีผู้ติดตามหรือคนรถรีบกางร่มมารับจากตึกเข้ารถไป  ดังนั้น ผู้ดีอังกฤษประเภทนี้จะไม่ถือร่ม และมักจะไม่ค่อยถนัดในการเดินทางด้วยการขนส่งสาธารณะ อย่างเช่น รถใต้ดิน  ผู้ดีประเภทนี้จะไม่คุ้นเคยกับสถานีรถใต้ดินหรือเส้นทางของรถใต้ดินสักเท่าไรนักแม้จะเป็นชาวกรุงลอนดอนเองก็ตาม  ออกจะเงอะๆงะๆ ที่จริง คนกรุงเทพฯจำนวนหนึ่งก็น่าจะเข้าข่ายผู้ดีอังกฤษแบบนี้ด้วย คือไม่ใช้รถไฟฟ้าหรือรถใต้ดิน ส่วนรถเมล์นี่ไม่ต้องพูดถึงเลย
ส่วนผู้ดีอังกฤษอีกประเภทหนึ่งก็คือ สุภาพบุรุษชาวอังกฤษที่คนไทยเห็นจากภาพยนตร์ ที่แต่งตัวใส่สูท คาบไปป์ สวมหมวก และถือร่ม  คนที่แต่งตัวแบบนี้ก็คือ คนอังกฤษที่เป็นชนชั้นกลางทั่วไป ที่เวลาออกไปทำงานก็มักจะแต่งตัวทำนองนี้  คนอังกฤษเขาถือว่าการใส่สูทหรือใส่เสื้อที่คลุมทับเสื้อเชิ๊ตหรือเสื้อยืดเป็นการแต่งกายที่สุภาพกว่าไม่ใส่  ขณะเดียวกั ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นสูทที่เป็นทางการนัก แล้วแต่โอกาส อาจจะเป็นสูทแบบลำลองที่เรียกว่า เบลเซอร์ (blazer)  หรือบางทีก็ใช้คำว่า แจ็กเกต (jacket) แบบเหมารวมถึงเสื้อที่ใช้ใส่คลุมเสื้อเชิ๊ตหรือเสื้อยืด  ซึ่งเบลเซอร์บางยี่ห้อที่ผลิตขายมานานและราคาไม่แพงนัก ก็มักจะถูกเรียกยี่ห้อมากกว่าจะเรียกเบลเซอร์ เช่น เบลเซอร์ยี่ห้อแฮรีส ทวีท (Harris Tweed) ก็จะเรียกว่า แฮรีส ทวีดไปเลย
หลังจากอาจารย์นันไคได้ตั้งชื่อให้แขกคนแรกว่า
“สุภาพบุรุษ” หรือผู้ดีตะวันตกแล้ว  แขกอีกคน เขาก็ตั้งชื่อให้ว่า
“นักสู้” ที่ผู้แปลนิยายเรื่องนี้ของโชมินใช้คำว่า
“Mr. Champion”  เพราะแขกคนนี้ออกแนวซามูไร !
การที่อาจารย์นันไคตั้งชื่อใหม่ให้ทั้งสองโดยไม่สนใจใคร่รู้เลยว่า ตกลงแล้ว ทั้งสองมีชื่อจริงอะไร ? แขกทั้งสองที่ถูกตั้งชื่อใหม่นั้นก็ไม่รู้สึกมีปัญหาอะไร ได้แต่นั่งยิ้มไปเรื่อยๆ
พูดถึงการเที่ยวไปตั้งชื่ออะไรใหม่ให้ผู้คนนี่ ผมจำได้ว่า สมัยก่อนดูเป็นเรื่องปกติ ครูบางคนจะตั้งชื่อใหม่ให้นักเรียน เพราะมันจะช่วยให้จำได้ง่ายดีกว่าจะจำชื่อจริงๆของทุกคน  เช่น เรียกผมว่า
“ไอ้แว่น” หรือเพื่อนบางคนสีผิวคล้ำเข้มก็ไม่พ้น
“ไอ้ดำ” แต่ถ้ามีดำหลายระดับ บางคนก็ถูกเรียกว่า
“หล่ำปิ” (ดำปี๋นั่นเอง) บางคนฟันหน้าเห็นชัดก็เป็น
“กระรอก” ไป เป็นต้น นักเรียนสมัยนั้นก็ไม่ได้รู้สึกขมขื่นเจ็บช้ำระกำใจอะไร
ตัวผมเองเมื่อมาเป็นครูสอนหนังสือ ตอนแรกๆ ก็ทำแบบเดียวกันกับที่ครูของผมทำมาก่อน ตอนนั้น ก็ไม่มีนิสิตคนใดว่าอะไร แต่มารุ่นหลังๆนี่ รู้สึกว่าการไปตั้งชื่ออะไรให้เขานั้น กลายเป็นเรื่องใหญ่โต ไม่เคารพความเป็นมนุษย์ไป ผมก็เลยเปลี่ยนจากการตั้งชื่อมาเป็นจำชื่อจริงหรือชื่อเล่นที่เขาหรือเธออยากจะให้เรียก
แต่ถ้าเป็นนักศึกษารุ่นโตๆที่เรียนปริญญาโทหรือเอกที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ยังจะอยู่ในธรรมเนียมที่ยอมให้อาจารย์ตั้งชื่อได้ และพวกเขาก็จะสนุกไปกับการได้ชื่อใหม่  และหลังจากจบกันไปนานแล้ว เมื่อมาเจอผม พวกเขาก็ถามผมว่า ผมยังจำพวกเขาในชื่อต่างๆที่ผมตั้งให้ได้หรือเปล่า ทั้งๆที่ผมเองก็ลืมไปบ้างแล้ว และพวกเขายังบอกว่า ตั้งแต่ผมตั้งชื่อใหม่ให้ พวกเขาก็เรียกกันและกันตามชื่อที่ผมตั้งให้ไปตลอดเลย  เช่น บางคนผมเรียกเขาว่า
“เขาทราย” เพราะหน้าตาเขาเหมือนนักมวยชื่อดังคนนั้น
สำหรับผม มันเคยเป็นความรู้สึกที่ดี แต่คนรุ่นใหม่เขาไม่คิดอย่างนั้น โดยเฉพาะชื่อที่พวกเขาคิดว่ามันไปเข้าข่ายการเหยียดในเรื่องรูปลักษณ์ท่าทางอะไรต่างๆของแต่ละคน อันที่จริง ผมก็เชื่อว่า บางคนก็คงไม่ชอบจริงๆที่จะมีใครไปเรียกเขาว่า อ้วน ดำหรือเผือก ฯลฯ
กลับมาที่นิยายที่เป็นหนึ่งในวรรณกรรมชิ้นเอกของโลก.....หลังจากตอกบรั่นดีกันไปสักพัก
“ผู้ดีตะวันตก” ก็เริ่มบทสนทนา เขากล่าวขึ้นว่า
“ผมได้ยินชื่อเสียงของท่านอาจารย์มานานแล้ว และทราบว่าท่านมีความรอบรู้ทั้งโลกตะวันตกและตะวันออก อีกทั้งยังมองทะลุทะลวงไปทั้งอดีตและปัจจุบัน อ่า..ตัวผมเองก็มีความเห็นของผมต่อเรื่องราวความเป็นไปของโลกอยู่บ้าง  อ่า ประชาธิปไตย ประชาธิปไตย !  การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นโง่เง่า เพราะมันไม่ตระหนักรู้ถึงข้อผิดพลาดของตัวเอง  แต่การปกครองที่มีรัฐธรรมนูญ (constitutionalism)  ตระหนักรู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง แต่ก็แก้ไขได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่เปิดเผยและตรงไปตรงมา เป็นการปกครองที่บริสุทธิ์ที่สุด  แล้วเหตุใดชาติตะวันตกหลายประเทศที่รู้จักหลักการอันยิ่งใหญ่ทั้งสาม อันได้แก่ เสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ (หนึ่งในความหมายของสัญลักษณ์สามนิ้ว)  กลับยังไม่นำเอาประชาธิปไตยไปใช้ปกครองในประเทศตัวเองอย่างแท้จริง ? แต่ประเทศตะวันตกเหล่านี้ก็ยังคงกองกำลังทหารประจำการเป็นจำนวนนับสิบๆล้าน และการมีกองกำลังมันบั่นทอนเศรษฐกิจของประเทศและทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องมาเข่นฆ่ากันเอง แข่งขันกันเพื่อความยิ่งใหญ่ ? มันขัดต่อหลักศีลธรรมและกฎทางเศรษฐศาสตร์อย่างเห็นได้ชัด
ถ้าประเทศเล็กๆที่ล้าหลังประเทศหนึ่ง (น่าจะหมายถึง ญี่ปุ่นตอนนั้น) ที่เคยจะยืนหยัดอย่างภาคภูมิใจบนความอ่อนแอง่อนแง่นของประเทศในเอเชีย รีบหันมารับหลักการเสรีภาพและภราดรภาพ ทำลายกำแพงกีดกั้น แปลงเรือรบให้เป็นเรือสินค้า (ข้อความนี้ทำให้นึกถึงนโยบาย
“เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” ของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ สมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี) เปลี่ยนทหารให้เป็นพลเรือน อุทิศตนในการยึดมั่นในหลักศีลธรรม ศึกษาเทคนิคการทำอุตสาหกรรม และเป็นผู้ใฝ่รู้ที่แท้จริง (a true student of philosophy)  การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะไม่ทำให้ประเทศต่างๆในยุโรปที่หยิ่งทนงอย่างไร้สาระในอารยธรรมของตนต้องได้อายหรือ ?
กระนั้น สมมุติว่า ประเทศยิ่งใหญ่เหล่านั้นไม่เพียงแต่ไม่ละอายแต่ยังคงดื้อรั้นดันทุรังและเลวทรามต่อไป และสมมุติว่าพวกเขายังคงหยิ่งผยองรุกรานประเทศของเรา เอาเปรียบเราจากการที่เราเลิกสะสมแสนยานุภาพ พวกเขาจะทำอะไรเรา ถ้าหากเราไม่มีแม้แต่กระสุนสักนัดเดียวที่จะตอบโต้ แต่เราจะต้อนรับพวกเขาอย่างสุภาพและอารยะ ?  ถ้าคุณแกว่งดาบโจมตีอากาศธาตุ มันก็จะไม่เกิดอะไรขึ้นกับอากาศ ไม่ว่าดาบนั้นจะคมสักแค่ใด ทำไมเราไม่ทำตัวเป็นอากาศธาตุเสียเล่า ?”
คำกล่าวของชายญี่ปุ่นหรือที่อาจารย์นันไคตั้งชื่อให้ใหม่ว่า
“สุภาพบุรุษตะวันตก” ผู้มียึดมั่นในประชาธิปไตยและแนวคิดตะวันตกอย่างจริงจัง (จริงจังมากกว่าคนตะวันตกเองด้วยซ้ำ !)
นิยายเรื่องนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในภาษาญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2430  ก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นเวลา 27 ปี อันเป็นสงครามที่เกิดขึ้นในหมู่ประเทศตะวันตกที่อ้างว่ายึดมั่นในหลักการเสรีนิยมและมีอารยธรรมที่สูงกว่าชาวตะวันออก
คำกล่าวข้างต้นของชายญี่ปุ่น (สุภาพบุรุษตะวันตก)  น่าจะแทงเข้าไปในหัวใจของบรรดาชาติตะวันตกทั้งหลายหลังจากต่างพากันเข้าห้ำหั่นกันในสงครามโลกทั้งสองครั้ง และรวมทั้งญี่ปุ่นเองที่ต้องการเป็นชาติมหาอำนาจด้วย                                                                                                                                                                และเมื่อมีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นหลังสิ้นสุดสงครามโลก ข้อคิดดังกล่าวของ
“สุภาพบุรุษ” น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) คัดเลือกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมสำคัญของโลก
และแน่นอนว่า ท่านผู้อ่านน่าจะเดาได้นะครับว่า แนวคิดของ
“คุณนักสู้” แขกในวงเหล้าอีกคนหนึ่งจะเป็นอย่างไร ?
ข่าวที่เกี่ยวข้องในอดีต

China , Japan , Thailand , Russia , United-kingdom , London , City-of , Utis , Tyumenskaya-oblast- , Japanese , Soviet , Noonan-chi

เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่สิบห้า) :รุสโซแห่งตะวันออก:แกนนำพรรคเสรีนิยมญี่ปุ่น

เปรียบเทียบการปฏิรูปการเมืองการปกครองญี่ปุ่น-ไทย (ตอนที่สิบห้า) :รุสโซแห่งตะวันออก:แกนนำพรรคเสรีนิยมญี่ปุ่น
posttoday.com - get the latest breaking news, showbiz & celebrity photos, sport news & rumours, viral videos and top stories from posttoday.com Daily Mail and Mail on Sunday newspapers.

Osaka , Japan , Thailand , United-kingdom , Ireland , Toronto , Ontario , Canada , Oregon , United-states , France , Japanese